ลักษณะอาการที่พบ : เพศเมีย ใช้อวัยวะวางไข่ แทงเข้าไปในผลตัวหนอนที่ฟักจากไข่อาศัยและชอนไชอยู่ภายในทำให้ผลเน่าเสีย และร่วงหล่นลงพื้น ตัวหนอนที่โตเต็มที่เจาะออกจากผลเพื่อเข้าดักแด้ในดินแล้วจึงออกเป็นตัวเต็มวัย แมลงวันผลไม้วางไข่ ในผลไม้สุก และมีเปลือกบาง ในระยะเริ่มแรกสังเกตได้ยากอาจพบอาการช้ำบริเวณใต้ผิวเปลือกเมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อย ๆ ท้าให้ผลเน่า ผลที่ถูกท้าลายนี้มักมีโรคและแมลงชนิดอื่น ๆ เข้าทำลายซ้ำ

แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ทำความสะอาดแปลงปลูก โดยเก็บผลไม้ที่เน่าเสียจากการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ฝังกลบให้หน้าดินหนาอย่างน้อย 15 เซนติเมตร

2. ห่อผลด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาล หรือถุงกระดาษที่ภายในเคลือบด้วยกระดาษคาร์บอน โดยเริ่มห่อเมื่อมะม่วงติดผลได้อายุประมาณ 60 วัน

3. การใช้กับดักสารล่อเมทธิล ยูจินอล เพื่อเป็นตัวชี้วัดปริมาณแมลงวันผลไม้ในแปลงปลูกโดยใช้กับดักที่ภายในแขวนก้อนสำลีชุบสารเมทธิล ยูจินอล ผสมสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% EC ในอัตรา 4:1 แขวนในทรงพุ่มที่ระดับความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร จ้านวน 1 กับดักต่อพื้นที่ 1 ไร่ หมั่นสังเกตปริมาณแมลงวันผลไม้ในกับดักทุกสัปดาห์ถ้าพบว่ามีปริมาณแมลงวันผลไม้ในกับดักมากขึ้นให้พ่นสารฆ่าแมลงเพื่อลดปริมาณในแปลงปลูก

4. ใช้สารฆ่าแมลง มาลาไทออน 83% EC อัตรา 20 – 30 มิลลิลิตรต่อน้้า 20 ลิตร หรือ ไตรอะโซฟอส 40% EC อัตรา 20 – 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% CS อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1 – 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน เมื่อพบว่ามีการระบาดมาก

5. พ่นด้วยเหยื่อพิษที่ประกอบด้วยยีสต์โปรตีน อัตรา 200 มิลลิลิตร ผสมกับสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรในน้ำ 5 ลิตร ทุก 7 วัน โดยพ่นเป็นแถบ แถวละ1 แถบ หรือถ้าพ่นแถวละ 2 แถบ ให้พ่นแถวเว้นแถว ขนาดกว้างแถบละ 30 เซนติเมตรในเวลาเช้าตรู่ควรเริ่มพ่นก่อนเริ่มท้าการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน

แแมลงวันผลไม้ (มะม่วง)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *