ช่วงระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้ : พัฒนาผล

ลักษณะอาการที่พบ : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงผลอ่อนทำให้เมล็ดและผลปลอมไม่เจริญ แคระแกร็นเมล็ดลีบหรืออาจทำให้ผลอ่อนร่วงหล่นได้ ถ้ามีปริมาณมาก มักพบเพลี้ยแป้งเกาะที่ลำต้นเป็นกระจุก และมักพบร่วมอยู่กับมด โดยมีมดเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งให้เคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่าง ๆ ของมะม่วงหิมพานต์ โดยมดอาศัยน้ำหวานจากเพลี้ยแป้งที่ถ่ายออกมา

แนวทางป้องกัน/แก้ไข
ส้ารวจผลมะม่วงหิมพานต์ หากพบการระบาดพ่นสารฆ่าแมลงพิริมิฟอส–เมทิล 50% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือมาลาไทออน 83% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นสาร 2 – 3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน

เพลี้ยแป้ง (มะม่วงหิมพานต์)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *