เตือนการระบาด เพลี้ยไฟฝ้าย

เตือนการระบาด เพลี้ยไฟฝ้าย

สภาพแวดล้อม / สภาพอากาศที่เกิดในช่วงนี้  :  อากาศร้อน มีฝนตกบางพื้นที่  ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ  :  พืชตระกูลแตง (เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ) ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้  :  ออกดอก  ปัญหาที่ควรระวัง :  เพลี้ยไฟฝ้าย ข้อสังเกตลักษณะ / อาการที่พบ  : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยท้าลายส่วนต่าง ๆ ของพืช โดยใช้ปากที่เป็นแท่ง (stylet) เขี่ยเนื้อเยื่อพืช ให้ช้ำแล้ว ดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืช ทำให้บริเวณใบที่ถูกทำลายมีรอยแผลสีน้ำตาล ใบแห้ง การทำลายของเพลี้ยไฟต่อส่วนเจริญของพืช ทำให้ยอด ดอก

เตือนการระบาด โรคใบด่างซีดพริก

เตือนการระบาด โรคใบด่างซีดพริก

สภาพแวดล้อม / สภาพอากาศที่เกิดในช่วงนี้  :  อากาศร้อน มีฝนตกบางพื้นที่  ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ  :  พริก ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้  :  ทุกระยะการ เจริญเติบโต   ปัญหาที่ควรระวัง :  โรคใบด่างซีดพริก (เชื้อไวรัส Capsiccum cchlorosis virus) ข้อสังเกตลักษณะ / อาการที่พบ  : พบอาการจุดซีดเป็นรูปวงแหวนบนเนื้อใบ และบนผลพริก ต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต แนวทางป้องกัน / แก้ไข  :        1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค 2. ไม่นำเมล็ดพริกจากต้นที่เป็นโรค มาเพาะ ขยายพันธุ์ 3. ควรเพาะกล้าพริกในมุ้งกันแมลง และคัดเลือก กล้าพริกที่แข็งแรงและไม่เป็นโรคมาปลูก 4. หมั่นตรวจแปลงปลูก

โรคใบด่างจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตาย

โรคใบด่างจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตาย

สภาพแวดล้อม / สภาพอากาศที่เกิดในช่วงนี้  :  อากาศร้อน มีฝนตกบางพื้นที่  ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ  :  พริก ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้  :  ทุกระยะการ เจริญเติบโต   ปัญหาที่ควรระวัง :  โรคใบด่างจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตาย (เชื้อไวรัส Tomato necrotic ringspot virus) ข้อสังเกตลักษณะ / อาการที่พบ  : พบอาการใบด่างสีเขียวเข้มสลับเขียวอ่อน เกิดอาการจุดวงแหวนบนเนื้อใบ และยังพบ อาการแผลเนื้อเยื่อตายสีน้ำตาลทั้งบนผลพริก ใบ และกิ่งก้าน ต้นแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต แนวทางป้องกัน / แก้ไข  :        1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค 2. ไม่นำเมล็ดพริกจากต้นที่เป็นโรค มาเพาะ ขยายพันธุ์ 3. ควรเพาะกล้าพริกในมุ้งกันแมลง

เตือนการระบาด เพลี้ยไฟพริก

เตือนการระบาด เพลี้ยไฟพริก

สภาพแวดล้อม / สภาพอากาศที่เกิดในช่วงนี้  :  อากาศร้อน มีฝนตกบางพื้นที่  ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ  :  พริก ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้  :  ทุกระยะการ เจริญเติบโต   ปัญหาที่ควรระวัง :  เพลี้ยไฟพริก ข้อสังเกตลักษณะ / อาการที่พบ  :  ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดใบอ่อน ตาดอก และดอก ทำให้ใบ หรือ ยอดอ่อนหงิก ขอบใบหงิกหรือม้วนขึ้นด้านบน ถ้าเข้าทำลายระยะพริกออกดอก จะทำให้ ดอกพริกร่วงไม่ติดผล การทำลายในระยะผล จะทำให้รูปทรงของผลบิดงอ ถ้าการระบาด รุนแรงพืชจะชะงักการเจริญเติบโต หรือ แห้งตายในที่สุด มักพบระบาดมากในช่วง อากาศแห้งแล้ง แนวทางป้องกัน / แก้ไข  :        1. สุ่มสำรวจพริก

แมลงหวี่ขาวยาสูบในมะเขือเทศ

แมลงหวี่ขาวยาสูบในมะเขือเทศ

สภาพแวดล้อม / สภาพอากาศที่เกิดในช่วงนี้  :  อากาศร้อน มีฝนตกบางพื้นที่  ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ  :  มะเขือเทศ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้  :  ทุกระยะการ เจริญเติบโต   ปัญหาที่ควรระวัง :  แมลงหวี่ขาว ยาสูบ ข้อสังเกตลักษณะ / อาการที่พบ  :  ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำ เลี้ยงจากใบ ทำให้ใบหงิกงอและ เหี่ยวแห้ง ต้นแคระแกร็น นอกจากนี้ยังเป็นพาหะนำโรคที่ เกิดจากเชื้อไวรัส แนวทางป้องกัน / แก้ไข  :        ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด เช่น ไดโนทีฟูแรน 1% GR อัตรา 3 กรัมต่อหลุม ใช้รองก้น หลุม สามารถป้องกันได้ประมาณ 25

ไรแอฟริกันในพืชตระกูลส้ม

ไรแอฟริกันในพืชตระกูลส้ม

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนตกและลมแรงในบางพื้นที่ เตือน ผู้ปลูกพืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน) ในระยะ ออกดอก – ติดผลอ่อน รับมือไรแดงแอฟริกัน ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณด้านหน้าใบหรือด้านบนของใบส้ม แต่ในกรณีที่มีการระบาดรุนแรง ประชากรของไรหนาแน่น อาจพบการทำลายของไรที่บริเวณหลังใบ และที่ผลด้วย ทำให้ใบและผลมีสีเขียวจางลง เนื่องจากสูญเสียคลอโรฟิลล์ หากมีการระบาดรุนแรง อาจทำให้ใบ และผลร่วงในที่สุดแนวทางป้องกัน/แก้ไข1. หมั่นสำรวจแปลงส้มทุกสัปดาห์ในช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนธันวาคม – พฤษภาคม และในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม2. เมื่อพบไรแดงแอฟริกันเริ่มลงทำลายส้มให้ทำการป้องกันกำจัด ด้วยการให้น้ำติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง3. หากมีการระบาดรุนแรง โดยสามารถสังเกตเห็นใบส้มเริ่มมีสีเขียวจางลง และเมื่อใช้แว่นขยายส่องดู พบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของไร

แมลงวันผลไม้ฝรั่ง

แมลงวันผลไม้ฝรั่ง

สภาพอากาศในช่วงนี้มีหมอกตอนเช้า กลางวันร้อน เตือนผู้ปลูกฝรั่ง ในระยะ ระยะติดผล รับมือแมลงวันผลไม้ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 ฟอง ในผลฝรั่ง ลึกจากผิวประมาณ 2-5 มิลลิลิตร หลังจากฝรั่งติดผล แล้ว 9 สัปดาห์ ระยะหนอนทำลายพืชโดยการชอนไชกินเนื้ออยู่ภายในผล ทำให้ผลเน่าและร่วง แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1. ต้องรักษาความสะอาดในแปลงปลูก โดยเก็บผลที่ถูกแมลงวันผลไม้เข้าทำลาย หรือผลที่เน่าออกจากแปลงปลูก นำไปฝังกลบให้มีระดับหน้าดินหนา 15 เซนติเมตร เพื่อลดการสะสมและขยายพันธุ์ของแมลงวันผลไม้ในแปลงปลูก 2. ควรทำการตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อลดการเกิดร่มเงาในทรงพุ่ม ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการแพร่ ระบาดของแมลงวันผลไม้ และให้ศัตรูธรรมชาติมีบทบาทในการทำลายแมลงวันผลไม้ได้มากขึ้น 3. ควรห่อผลด้วยถุงพลาสติกหูหิ้วสีขาว ขนาด 6×14 นิ้ว

เพลี้ยแป้งฝรั่ง

เพลี้ยแป้งฝรั่ง

สภาพแวดล้อม / สภาพอากาศที่เกิดในช่วงนี้  :  อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมี ฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มี ฝนตกและลมแรงในบาง พื้นที่  ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ  :  ฝรั่งระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้  :  พัฒนาผล-เก็บเกี่ยว ผลผลิต ปัญหาที่ควรระวัง  : เพลี้ยแป้ง ข้อสังเกตลักษณะ / อาการที่พบ  : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยง จากกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ โดยมี มดเป็นตัวช่วยพาไปไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของพืช ทำให้พืชแคระแกร็นชะงักการ เจริญเติบโต แนวทางป้องกัน / แก้ไข  :        1. หมั่นสำรวจแปลงทุกสัปดาห์ หากพบไม่มากให้ตัด ส่วนของพืชที่พบเพลี้ยแป้งไปทำลาย 2. พ่นสารอิมิดาโคลพริด 70% WG

เพลี้ยแป้ง (มะม่วงหิมพานต์)

เพลี้ยแป้ง (มะม่วงหิมพานต์)

ช่วงระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้ : พัฒนาผล ลักษณะอาการที่พบ : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงผลอ่อนทำให้เมล็ดและผลปลอมไม่เจริญ แคระแกร็นเมล็ดลีบหรืออาจทำให้ผลอ่อนร่วงหล่นได้ ถ้ามีปริมาณมาก มักพบเพลี้ยแป้งเกาะที่ลำต้นเป็นกระจุก และมักพบร่วมอยู่กับมด โดยมีมดเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งให้เคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่าง ๆ ของมะม่วงหิมพานต์ โดยมดอาศัยน้ำหวานจากเพลี้ยแป้งที่ถ่ายออกมา แนวทางป้องกัน/แก้ไขส้ารวจผลมะม่วงหิมพานต์ หากพบการระบาดพ่นสารฆ่าแมลงพิริมิฟอส–เมทิล 50% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือมาลาไทออน 83% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นสาร 2 – 3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน

แแมลงวันผลไม้ (มะม่วง)

แแมลงวันผลไม้ (มะม่วง)

ลักษณะอาการที่พบ : เพศเมีย ใช้อวัยวะวางไข่ แทงเข้าไปในผลตัวหนอนที่ฟักจากไข่อาศัยและชอนไชอยู่ภายในทำให้ผลเน่าเสีย และร่วงหล่นลงพื้น ตัวหนอนที่โตเต็มที่เจาะออกจากผลเพื่อเข้าดักแด้ในดินแล้วจึงออกเป็นตัวเต็มวัย แมลงวันผลไม้วางไข่ ในผลไม้สุก และมีเปลือกบาง ในระยะเริ่มแรกสังเกตได้ยากอาจพบอาการช้ำบริเวณใต้ผิวเปลือกเมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อย ๆ ท้าให้ผลเน่า ผลที่ถูกท้าลายนี้มักมีโรคและแมลงชนิดอื่น ๆ เข้าทำลายซ้ำ แนวทางป้องกัน/แก้ไข1. ทำความสะอาดแปลงปลูก โดยเก็บผลไม้ที่เน่าเสียจากการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ฝังกลบให้หน้าดินหนาอย่างน้อย 15 เซนติเมตร 2. ห่อผลด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาล หรือถุงกระดาษที่ภายในเคลือบด้วยกระดาษคาร์บอน โดยเริ่มห่อเมื่อมะม่วงติดผลได้อายุประมาณ 60 วัน 3. การใช้กับดักสารล่อเมทธิล ยูจินอล เพื่อเป็นตัวชี้วัดปริมาณแมลงวันผลไม้ในแปลงปลูกโดยใช้กับดักที่ภายในแขวนก้อนสำลีชุบสารเมทธิล ยูจินอล ผสมสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% EC ในอัตรา 4:1 แขวนในทรงพุ่มที่ระดับความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร