เดิมสมัยก่อนชุมชนบ้านลิ่นถิ่น เป็นหมู่บ้านของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ซึ่งอาศัยอยู่มาก่อนแต่ดั้งเดิม
มีอาชีพเลี้ยงช้าง และปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์
ซึ่งประกอบด้วย แม่น้ำแควน้อย ลำห้วย มีน้ำไหลตลอดปี และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม จึงทำให้มีผู้คนจากต่างถิ่น อพยพเข้ามาปลูกสิ่งก่อสร้าง และประกอบอาชีพต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
ตำบลลิ่นถิ่น ได้รับการจัดตั้งตามกฎหมาย
ลักษณะปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2547 เมื่อ พ.ศ. 2526 โดยแยกจากตำบลลิ่นถิ่นและ ได้รับการยกฐานะเป็น
องค์การบริหารส่วนตำบลลิ่นถิ่น ตามประกาศ
กระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม 2539 ประกาศในราชกิจจา นุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 113 ตอนที่9ง ลงวันที่ 30 มกราคม 2539 มีผลบังคับเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2539 และต่อมาปี 2555 ได้รับการ ประกาศจัดตั้งจากองค์การบริหารส่วนตำบลลิ่นถิ่น เป็นเทศบาลตำบลลิ่นถิ่น ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2555
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ
การเกษตร ได้แก่ การทำสวนยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด ขมิ้น ปาล์ม ข้าวไร่ และ ปลูกผลไม้ เช่น
กล้วยไข่ ส้มโอ ทุเรียน เงาะ มะละกอ ฯลฯ และ
อาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร แพะ
เพื่อจำหน่ายและบริโภคเอง ในครัวเรือน มีการประกอบอาชีพทำการปศุสัตว์ ร้อยละ 6.40 ของจำนวนครัวเรือนเกษตรกร
ภูมิอากาศ
ภูมิอากาศร้อนชื้นแบบเขตโซนร้อน มี 3 ฤดู
ฤดูฝน ระหว่างเดือน มิ.ย. – ต.ค.
ฤดูหนาว ระหว่างเดือน พ.ย. – ม.ค.
ฤดูร้อน ระหว่างเดือน ก.พ. – พ.ค.
ภูมิประเทศ
ภูมิประเทศในเขตเทศบาลตำบลลิ่นถิ่น
เป็นที่ราบเชิงเขาและภูเขาสลับซับซ้อน สภาพพื้นที่
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบอยู่ทางทิศตะวันตก ร้อยละ 80
และเป็นที่ราบลุ่มอยู่ทางทิศตะวันออก ร้อยละ 20
อยู่ติดกับป่าสงวนแห่งชาติ คือ ป่าห้วยเขย่ง ป่าเขา
พระฤาษี ป่าเขาบ่อแร่แปลงที่หนึ่ง ป่าสงวนแห่งชาติ
ป่าวังใหญ่ และป่าแม่น้ำน้อย มีแม่น้ำแควน้อยไหลผ่าน ทำให้บริเวณพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำทั้งสองฝั่งมีความ
อุดมสมบูรณ์ พื้นที่โดยส่วนใหญ่ใช้ทำการเกษตร
ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม
ประเพณีปิดทองรอยพระพุทธบาท
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์
ประเพณีสรงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
สรงน้ำพระ ช่วงเดือนเมษายน
ประเพณีแห่เทียนพรรษา ช่วงเดือนกรกฎาคม
ประเพณีผูกข้อมือเรียกขวัญ ของชาวกะเหรี่ยง
ช่วงเดือนสิงหาคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น คือ กลุ่มอาชีพจักสานไม้ไผ่ หมู่ที่ 6 บ้านหนองเจริญ
ภาษาถิ่น คือ ภาษาไทย ภาษากะเหรี่ยง
สินค้าพื้นเมือง : เครื่องจักสานจากไม้ไผ่ ตอไม้แปรรูป
ผ้าขาวม้าทอมือ