วันที่ 27 เมษายน 2567 นายจตุพร อิ่มจิตร เกษตรอำเภอทองผาภูมิ มอบหมายให้ นางสาวรัตนาพร เปรมปรีดิ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และ นายสุทัศน์ สุขศีลล้ำเลิศ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ รับมอบทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์น้ำหนักแห้งของทุเรียนโดยใช้ตู้อบไมโครเวฟ ตามมาตรฐาน (มกษ. 3-2567)
พร้อมชี้แจงเกณฑ์น้ำหนักเนื้อแห้งทุเรียนที่แก่ แต่ละสายพันธุ์
1) หมอนทอง/ก้านยาว ต้องมีน้ำหนักเนื้อแห้งไม่น้อยกว่า 32%
2) ชะนี/พวงมณี ต้องมีน้ำหนักเนื้อแห้งไม่น้อยกว่า 30%
3) กระดุมทอง ต้องมีน้ำหนักแห้งไม่น้อยกว่า 27%
และพร้อมแนะนำการดูลักษณะภายทุเรียนแก่
1) ขั้วผลแข็งและสีเข้มกว่าปกติ เมื่อสัมผัสผิวขั้วผลจะรู้สึกสากมือ บริเวณรอยต่อระหว่างขั้วผลกับก้านผล (ปลิง) บวมใหญ่
2) ปลายหนามแห้งมีสีน้ำตาล ร่องโคนหนามห่าง เมื่อบีบปลายหนามเข้าหากันจะรู้สึกยืดหยุ่น
3) สังเกตเห็นรอยร่องโคนหนามทุเรียนเป็นแนวยาวสีน้ำตาลบริเวณกลางพูได้ชัด
4) สีเปลือกเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเขียวอมน้ำตาล หรือสีเขียวแกมเทา
การตรวจลักษณะทุเรียนแก่ภายใน
1) พันธุ์หมอนทอง หลังจากตัดจะสุกตามธรรมชาติไม่เกิน 9 วัน เนื้อสีเหลืองอ่อน เมล็ดสีน้ำตาลปนครีม
2) พันธุ์ชะนี หลังจากตัดจะสดตามธรรมชาติไม่เกิน 5 วัน เนื้อสีเหลือง เมล็ดสีน้ำตาลปนครีม
3)พันธุ์กระดุม หลังจากตัดจะสุกตามธรรมชาติไม่เกิน 5 วัน เนื้อสีเหลือง เมล็ดสีน้ำตาล
ณ หมู่ 1 ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี