สภาพแวดล้อม / สภาพอากาศที่เกิดในช่วงนี้  :  อากาศร้อน มีฝนตกบางพื้นที่ 

ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ  :  พืชตระกูลแตง (เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ)

ะยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้  :  ออกดอก

 ปัญหาที่ควรระวัง :  เพลี้ยไฟฝ้าย

ข้อสังเกตลักษณะ / อาการที่พบ  : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยท้าลายส่วนต่าง ๆ ของพืช โดยใช้ปากที่เป็นแท่ง (stylet) เขี่ยเนื้อเยื่อพืช ให้ช้ำแล้ว ดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืช ทำให้บริเวณใบที่ถูกทำลายมีรอยแผลสีน้ำตาล ใบแห้ง การทำลายของเพลี้ยไฟต่อส่วนเจริญของพืช ทำให้ยอด ดอก ตาอ่อน ไม่เจริญเติบโต หาก เป็นระยะพืชขาดน้ำแล้วไม่ทำการแก้ไข ป้องกันกำจัด จะทำให้พืชตายได้

แนวทางป้องกัน / แก้ไข  :       

พ่นสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการ ป้องกันกำจัด เช่น สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 15 – 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 30 – 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 40 – 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สไปโรมีซิเฟน 24% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 10 – 15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 30 ลิตร

**** พ่นสารเมื่อพบเพลี้ยไฟมากกว่า 5 ตัวต่อยอด พ่นซ้ำตามความจำเป็น ควรพ่นสารแบบสลับ กลุ่มสารตามกลไกการออกฤทธิ์ ทุกรอบ 14 วัน โดยพ่นสารแต่ละกลุ่มไม่เกิน 3 ครั้งต่อรอบ

เตือนการระบาด เพลี้ยไฟฝ้าย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *