สภาพแวดล้อม / สภาพอากาศที่เกิดในช่วงนี้  :  อากาศร้อน มีฝนตกบางพื้นที่ 

ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ  :  พริก

ะยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้  :  ทุกระยะการ เจริญเติบโต 

 ปัญหาที่ควรระวัง :  โรคใบด่างซีดพริก (เชื้อไวรัส Capsiccum cchlorosis virus)

ข้อสังเกตลักษณะ / อาการที่พบ  : พบอาการจุดซีดเป็นรูปวงแหวนบนเนื้อใบ และบนผลพริก ต้นแคระแกร็น

ไม่เจริญเติบโต

แนวทางป้องกัน / แก้ไข  :       

1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค

2. ไม่นำเมล็ดพริกจากต้นที่เป็นโรค มาเพาะ ขยายพันธุ์

3. ควรเพาะกล้าพริกในมุ้งกันแมลง และคัดเลือก กล้าพริกที่แข็งแรงและไม่เป็นโรคมาปลูก

4. หมั่นตรวจแปลงปลูก หากพบพริกที่แสดงอาการของโรคให้ถอนและนำไปทไลาย หรือ ฝังดินนอกแปลงทันที

5. หมั่นกไจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูก เพื่อลดแหล่งสะสมของเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ เช่น สาบแร้งสาบกา กะเม็ง หญ้ายาง และ กระทกรก

6. ไม่ปลูกพืชหมุนเวียนที่เป็นพืชอาศัยของ เชื้อไวรัส เช่น มะเขือต่าง ๆ ยาสูบ แตงกวา ฟักทอง บวบเหลี่ยม และ มะระจีน

7. เชื้อไวรัสสาเหตุโรคพืช ยังไม่มีสารป้องกัน กำจัดโดยตรง แต่ป้องกันการระบาดของโรค ได้โดยพ่นสารฆ่าเพลี้ยไฟพริก ซึ่งเป็นพาหะ นำโรคนี้ เช่น สาร สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สไปโรมีซิเฟน 24% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

เตือนการระบาด โรคใบด่างซีดพริก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *