สภาพแวดล้อม : อากาศร้อนในตอนกลางวันและมีฝนตกบางพื้นที่

ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ : พืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และ ส้มเขียวหวาน)

ช่วงระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้ : ออกดอก – ติดผลอ่อน

ลักษณะอาการที่พบ : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยใช้ปากเขี่ยและดูดกินน้ำเลี้ยงส่วนอ่อนต่างๆ ของส้มโอ การทำลายบนยอดหรือใบอ่อน จะทำให้ใบแคบเล็กกร้าน และบิดงอ การทำลายบนผลจะเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ติดผล ภายหลังกลีบดอกร่วงหมด เกิดเป็นรอยแผลบนผิวของส้มโอเป็นทางสีเทาเงิน ผลแคระแกร็น บิดเบี้ยว

แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ควบคุมการแตกยอดออกดอก ติดผล ให้อยู่ในระยะเดียวกันในแต่ละรุ่น เพื่อความสะดวกในการป้องกันกำจัด และช่วยลดจำนวนครั้งของการพ่นสารเคมี

2. ผลอ่อนที่ถูกเพลี้ยไฟพริกทำลายรุนแรง ควรเก็บทิ้งทำลาย และการเด็ดผลทิ้งจะช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว

3. สำรวจเพลี้ยไฟพริกในช่วงแตกใบอ่อนและผลอ่อน ถ้าพบการทำลายมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของยอดที่สำรวจ หรือ 10 เปอร์เซ็นต์ ของผลที่สำรวจ ทำการพ่นสารฆ่าแมลง เช่น สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นสารแบบหมุนเวียนตามกลุ่มกลไกการออกฤทธิ์ โดยใช้รอบการหมุนเวียนทุก 14 วัน เมื่อพบการระบาด เพื่อชะลอความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง

เพลี้ยไฟพริก (ในพืชตระกูลส้ม)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *