แมลงช้างปีกใส

 แมลงช้างปีกใส

ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส  ชื่อสามัญ  แมลงช้างปีกใส      ชื่อวงศ์ (Family)  Chrysopidae      อันดับ  (Order)  Neuroptera      ประเภท       แมลงตัวห้ำ   ความสำคัญ           แมลงช้างปีกใส  เป็นแมลงตัวห้ำที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งสามารถทำลายศัตรูพืชได้อย่างกว้างขวาง  เช่น  เพลี้ยอ่อน  ไรแดงแมลงหวี่ขาว  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  หนอนตัวเล็กๆ ของผีเสื้อที่เป็นไข่เดี่ยวๆ  และไข่ของแมลงหลายชนิดในธรรมชาติ  แมลงช้างปีกใสเป็นแมลงตัวห้ำที่สามารถนำมาเลี้ยงขยายพันธุ์เพื่อควบคุมศัตรูพืชได้ดีในอนาคต วงจรชีวิต  ไข่ อายุ 4 วัน  ตัวอ่อน มี 3 วัย อายุ 12 วัน  ดักแด้ อายุ 9 วัน  ตัวเต็มวัย อายุ 1-2 เดือน

เกษตรกาญจน์…เสริมทัพ ลับคมองค์ความรู้ ด้านงานประชาสัมพันธ์

เกษตรกาญจน์…เสริมทัพ ลับคมองค์ความรู้ ด้านงานประชาสัมพันธ์

เกษตรกาญจน์…เสริมทัพ ลับคมองค์ความรู้ ด้านงานประชาสัมพันธ์ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับอำเภอครั้งที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2566 วันที่ 6 กันยายน 2566 นายวีระศักดิ์ สุขทอง เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับอำเภอ (District Workshop : DW) โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอร่วมเวที ซึ่งจัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่นรเรียนรู้งานด้านประชาสัมพันธ์ในงานส่งเสริมการเกษตรอาธิ การใช้งาน canva เบื้องต้น การจัดทำเว็บไซต์สำนักงาน โดยใช้ wordpress ขั้นพื้นฐาน และแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (IDP) ของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยเจ้าหน้าที่กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ภัยร้ายที่เกษตรกรต้องระวัง

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ภัยร้ายที่เกษตรกรต้องระวัง

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ภัยร้ายที่เกษตรกรต้องระวัง!!! วันนี้เรา จะพาทุกท่านมารู้จักกับเจ้าหนอนตัวร้ายที่ทั่วโลกคุมเข้ม พร้อมแนะวิธีรับมือป้องกัน อ่านครบจบในโพสต์นี้

โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง

โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง

โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลังคลิกอ่าน : https://bit.ly/464zFGF————————-ลักษณะอาการ ใบยอดแตกเป็นพุ่ม มีขนาดเล็กลงและจำนวนมากกว่าปกติ พบบริเวณตาข้างกิ่งหรือลำต้น ใบมีสีเหลืองซีด หรือสีเหลืองเข้มปนน้ำตาลแดง ใบจะแห้งตายเริ่มจากใบล่างขึ้นไป ข้อถี่สั้น ท่อน้ำท่ออาหารเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต้นแคระแกร็น มีอาการแห้งตายจากยอดลงมาสู่โคนต้น สามารถติดไปกับท่อนพันธุ์ได้

#เกษตรกาญจน์…สัมมนาพัฒนาการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

#เกษตรกาญจน์…สัมมนาพัฒนาการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

#เกษตรกาญจน์…ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ระดับเขต ประจำปี 2566 วันที่ 7 กันยายน 2566 นายวีระศัดิ์ สุขทอง เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วย นายไพรวัลย์ คันศร หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ระดับเขต ประจำปี 2566 โดยมีหัวข้อเกี่ยวกับ – แนวทางการดำเนินงานสู่ความสำเร็จในงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดย นายไพรวัลย์ คันศร หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร – แนวทางการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดย ผู้แทนกลุ่มโครงการพระราชดำริ กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร – รายงานผลการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในพื้นที่ 4 จังหวัด

#เกษตรกาญจน์…ร่วมทำแผนพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ

#เกษตรกาญจน์…ร่วมทำแผนพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ

#เกษตรกาญจน์…ร่วมสัมมนาจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรีด้านเศรษฐกิจ ประจำปี 2567 วันที่ 7 กันยายน 2566 นายวีระศักดิ์ สุขทอง เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ร่วมสัมมนาจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรีด้านเศรษฐกิจ ประจำปี 2567 โดยมีนายรณภพ เวียงสิมมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธาน ซึ่งจัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนโครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตกจังหวัดกาญจนบุรี

เตือนชาวนา เฝ้าระวัง แมลงดำหนามเข้าทำลายผลผลิต

เตือนชาวนา เฝ้าระวัง แมลงดำหนามเข้าทำลายผลผลิต

เตือนชาวนา ปลูกข้าวระยะนี้ เฝ้าระวัง แมลงดำหนามเข้าทำลายผลผลิต แนะหมั่นสำรวจแปลงนา กำจัดวัชพืชและใช้ปุ๋ยไนโตรเจนตามค่าวิเคราะห์ดิน ขอเตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีในช่วงนี้ซึ่งข้าวอยู่ในระยะแตกกอ เฝ้าระวังแมลงดำหนามอย่างต่อเนื่อง ให้หมั่นสำรวจแปลงนา และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกอยู่เสมอ ไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยหรือหลบซ่อนของแมลงศัตรูพืชดังกล่าว ตลอดจนใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของพืช อันจะส่งเสริมให้ต้นข้าวมีความแข็งแรง ทำให้ศัตรูเข้าทำลายได้ยากขึ้น สำหรับแมลงดำหนาม เป็นศัตรูข้าวที่มักจะกัดกินเนื้อเยื่อส่วนสีเขียวบริเวณใบข้าวทั้งที่เป็นระยะตัวหนอนและตัวเต็มวัย มีวงจรชีวิตรวม 1 – 2 เดือน โดยตัวหนอนจะชอนใบจนเห็นเป็นรอยแผ่นขุ่นขาวขนานกับเส้นทางใบ และตัวเต็มวัยจะแทะผิวใบเป็นรอยขูดขาวขนานตามทางใบคล้ายคลึงกัน ทำให้ใบข้าวเสียหาย หากถูกทำลายรุนแรงเป็นจำนวนมาก ใบข้าวจะแห้งเป็นสีน้ำตาลเหมือนรอยไฟไหม้ ทำให้ผลผลิตลดลง วิธีการสังเกต ให้สำรวจบริเวณกอข้าว แมลงดำหนามข้าวตัวเต็มวัย จะมีปีกแข็งสีดำและมีหนามแข็งแหลมปกคลุมลำตัว ความยาวประมาณ 5 – 6 มิลลิเมตร ตัวเมียชอบวางไข่บริเวณปลายใบข้าวอ่อน ซึ่งตัวเต็มวัยนี้จะมีอายุประมาณ 14

ขอเชิญชวนเกษตรกรแจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร

ขอเชิญชวนเกษตรกรแจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร

ขอเชิญชวนเกษตรกรแจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นการยืนยันตัวตน และเป็นข้อมูลการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร รวมถึงเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืชและสนับสนุนโครงการมาตรการภาครัฐต่างๆ

#เกษตรกาญจน์….ร่วมเสวนาการวางแผนผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อการส่งออก

#เกษตรกาญจน์….ร่วมเสวนาการวางแผนผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อการส่งออก

#เกษตรกาญจน์….ร่วมเสวนาการวางแผนผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อการส่งออก วันที่ 22 สิงหาคม 2566 นายวีระศักดิ์ สุขทอง เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต ร่วมเสวนาการวางแผนผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อการส่งออก ณ เทศบาลตำบลท่าขนุน โดยวิทยากร คุณยีน สุรินต๊ะ กรรมการผู้จัดการบริษัทคิงดูเรียน (ไทยแลนด์)จำกัดและผลิตภัณฑ์ตราหญิงงาม อ.สัญชัย โกสัลล์วัฒนา อดีตนายกสมาคม ผู้ผลิตทุเรียนไทย และ อ.ธีรภัทร อุ่นใจ ปราชญ์ทุเรียนและเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำสวน ปี 2561 ซึ่งมีหัวข้อเสวนา ความต้องการทุเรียนคุณภาพของผู้บริโภคและตลาดปลายทางที่จีนในปัจจุบัน การวางแผนการผลิตทุเรียน ให้ได้ผลผลิตทั้งปริมาณควบคู่คุณภาพในช่วงจังหวะเวลา ตรงความต้องการของตลาด การจัดการหลังเก็บเกี่ยว การใส่ปุ๋ยเตรียมใบสะสมอาหาร อย่างเป็นขั้นตอนเพื่อเตรียมทำดอก การใช้และพ่นสารแพคโคบิวทราโซล เพื่อบังคับให้ได้รุ่นดอกตามต้องการ การควบคุมน้ำในระยะสำคัญสำหรับทำดอก ปัจจัยสำคัญต่างๆ

#เกษตรกาญจน์….เดินหน้าขับเคลื่อนการดำเนินงานศดปช. ระดับจังหวัด

#เกษตรกาญจน์….เดินหน้าขับเคลื่อนการดำเนินงานศดปช. ระดับจังหวัด

#เกษตรกาญจน์….เดินหน้าขับเคลื่อนการดำเนินงานศดปช. ระดับจังหวัด วันที่ 23 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 น. นายวีระศักดิ์ สุขทอง เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเวทีขับเคลื่อนการดำเนินงาน และถอดบทเรียน ศดปช. ระดับจังหวัด ภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ปี 2566 ณ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้ ศดปช. ได้รับการพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการให้การดำเนินกิจกรรมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน และเกิดการขยายผลออกไปสู่ชุมชนอย่างกว้างขวางมากขึ้น สอดรับกับแนวทางของกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี ได้เล็งเห็นความสำคัญ และดำเนินกิจกรรมโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สมาชิก ศดปช.ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ความสำเร็จในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ศดปช. ในปี 2566 และเป็นต้นแบบการขยายผลการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต การใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน