สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรีใช้ระบบส่งเสริมการเกษตรเป็นหลักในการดำเนินงานในการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ มีการใช้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นเครื่องมือในการส่งเสริม และการขับเคลื่อน BCG Model แบบบูรณาการเชิงพื้นที่ ให้เป็นส่วนหนึ่งของงานส่งเสริมการเกษตร นายอนุวัฒน์ วรวงษ์ จุดเริ่มต้นของเกษตรกรต้นแบบ ด้านการลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต มันสำปะหลัง ในการปลูกมันสำปะหลัง โดยการคำนึงถึงสภาพดิน ธาตุอาหารที่อยู่ในดิน มีการนำดินไปวิเคราะห์หาธาตุอาหาร การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

ซึ่งเดิม “พื้นที่ ต.หนองไผ่ อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี เดิมจัดอยู่ในเขตพื้นที่มีความเหมาะสมน้อยในการปลูกมันสำปะหลัง ประกอบกับเกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในการปรับปรุงบำรุงดินอย่างถูกต้อง ทำให้ได้ผลผลิตแค่ไร่ละ 2 ตัน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกาญจนบุรี ไร่ละ 3.5 ตัน แต่พอมีโครงการส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรกรได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง มาตั้งแต่ปี 2559 มีสมาชิก 50 ราย พื้นที่รวม 1,111 ไร่ ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี สนับสนุนปัจจัยการผลิตตลอดจนงบประมาณดำเนินการเบื้องต้น ทำให้เกษตรกรสามารถใช้องค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้น”

มีการประชุมกลุ่มอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางแผนจัดการผลผลิตและการจำหน่าย รวมกลุ่มกันผลิต ใช้สารอินทรีย์ สารชีวภัณฑ์ ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มีการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง (ปุ๋ยสั่งตัด) เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีเกินความจำเป็น เลือกพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับพื้นที่ ดูแลควบคุมคุณภาพผลผลิต และเชื่อมโยงตลาดโดยการประสานกับลานมันสำปะหลังในพื้นที่ ให้รับซื้อผลผลิตของกลุ่มแปลงใหญ่ในราคาที่สูงกว่าเกษตรกรทั่วไป สามารถเป็นต้นแบบถ่ายทอดความรู้ไปสู่เกษตรกรรายอื่นได้

จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อ.ด่านมะขามเตี้ย เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังอย่างครบวงจร เพื่อเกษตรกรได้เข้ามาศึกษาดูงาน รับความรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ ศพก.แห่งนี้คิดค้นและได้ทดลองใช้จริงจนเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรม เกษตรกรเข้ามาเรียนรู้สามารถนำกลับไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน

ผลสำเร็จของการนำระบบส่งเสริมการเกษตรสู่การขับเคลื่อน BCG Model มันสำปะหลัง สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี ได้นำระบบส่งเสริมการเกษตร หรือ T&V Sysem มาช่วยงานส่งเสริมการเกษตร ตามแนวคิด “Keep Going, Keep Growing” ก้าวต่อไป เติบโตอย่างต่อเนื่อง ปรับองค์กรให้เป็น Digital DOAE มุ่งขับเคลื่อน BCG สู่ความยั่งยืนภาคการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี ได้ดำเนินการขับเคลื่อนส่งเสริมการผลิตและการจัดการสินค้าเกษตร ด้วย BCG Model ในชนิดพืชมันสำปะหลัง ในพื้นที่อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี

โดยเริ่มจากการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเพื่อชี้แจงแนวทาง และทำความเข้าใจในการขับเคลื่อน BCG Model ผ่านเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับอำเภอ หรือ DW การเยี่ยมเยี่ยนเกษตรกร ลงพื้นที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการจัดเวทีชุมชน (เกษตรเชิงพื้นที่) วิเคราะห์ประเด็นสำคัญเร่งด่วน เพื่อพัฒนาเกษตรกร การนิเทศงาน สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี ได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะนิเทศงาน เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ รวมถึงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับอำเภอและระดับจังหวัด ให้การดำเนินงานในพื้นที่ได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สนับสนุนด้านองค์ความรู้ทางวิชาการ การสร้างขวัญและกำลังใจ รวมไปถึงสนับสนุนด้านโครงสร้างอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ กระบวนการจัดการข้อมูล นำข้อมูลมาวิเคราะห์สังเคราะห์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไปวางแผนในการส่งเสริมการเกษตร และการขับเคลื่อน BCG Model สู่การขับเคลื่อนเกษตรเชิง ของจังหวัดกาญจนบุรี ได้ขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดเพื่อความยั่งยืนของภาคการเกษตรต่อไป

ผลสำเร็จในการนำระบบส่งเสริมการเกษตรสู่การขับเคลื่อน BCG Model มันสำปะหลัง จังหวัดกาญจนบุรี 66

You may also like