เกษตรหนองปรือ…ลงพื้นที่สำรวจและประเมินพื้นที่ระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง

เกษตรหนองปรือ…ลงพื้นที่สำรวจและประเมินพื้นที่ระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 นางสาวรจนา มูลเมือง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ พร้อมด้วยอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ลงพื้นที่สำรวจและประเมินพื้นที่ระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง ณ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองปลาไหล อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี

เกษตรหนองปรือ…ลงพื้นที่สำรวจและประเมินพื้นที่ระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง

เกษตรหนองปรือ…ลงพื้นที่สำรวจและประเมินพื้นที่ระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 นางสาวรจนา มูลเมือง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ลงพื้นที่สำรวจและประเมินพื้นที่ระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง ณ หมู่ที่ 1 ตำบลหนองปลาไหล อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี

เกษตรหนองปรือ…ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์โรคในนาข้าว

เกษตรหนองปรือ…ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์โรคในนาข้าว

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 นางสาวสุกัญญา สอนใจ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ และนางสาวจุฑารัตน์ จันภักดี นักวิชาส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์โรคในนาข้าว เนื่องจากเกษตรกรได้แจ้งว่าข้าวมีอาการไหม้ที่ใบ จำนวน 1 ราย โดยเบื้องต้นได้แนะนำการดูแลรักษาเบื้องต้น และดูอาการต่อไป ณ หมู่ที่ 1 ตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ระวัง เพลี้ยจักจั่นมะม่วง

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ระวัง เพลี้ยจักจั่นมะม่วง

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนตกเล็กน้อยบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกมะม่วง ในระยะแทงช่อดอก – พัฒนาผล รับมือเพลี้ยจักจั่นมะม่วง ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยทำลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน ระยะที่ทำความเสียหายให้มากที่สุด คือ ระยะที่มะม่วงกำลังออกดอกโดยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อย หรือไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นมะม่วงดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำหวานเหนียว ๆ ติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบ ๆ ทรงพุ่ม ทำให้ใบมะม่วงเปียก ต่อมาจะเกิดราดำปกคลุม ถ้าเกิดมีราดำปกคลุมมาก มีผลต่อการสังเคราะห์แสง ใบอ่อนที่ถูกดูดน้ำเลี้ยง (โดยเฉพาะระยะใบเพสลาด) จะบิดงอโค้งลงด้านใต้ใบจะมีอาการปลายใบแห้งให้สังเกตได้ แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1. การตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บผลผลิต ช่วยลดที่หลบซ่อนของเพลี้ยจักจั่นมะม่วง ทำให้การพ่นสารฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพดีขึ้น 2. ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัด

เตือนเกษตรกรผู้ปลูก หอม กระเทียม ระวังโรคใบไหม้

เตือนเกษตรกรผู้ปลูก หอม กระเทียม ระวังโรคใบไหม้

สภาพอากาศในช่วงนี้ช่วงต้นฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำ อาจมีฝนตกบางพื้นที่ มีความชื้นในอากาศสูง เตือนผู้ปลูกหอมแดง, หอมหัวใหญ่, หอมแบ่ง, กระเทียม ในระยะ ต้นกล้า-ลงหัว รับมือโรคใบไหม้ (เชื้อรา Stemphylium vesicarium) อาการเริ่มแรก พบจุดสีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาลอ่อนบนใบ มีลักษณะฉ่ำน้ำ ต่อมาจุดเล็กจะขยายเป็นแผลรูปยาวรี หัวท้ายแหลมสีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลอมม่วง เมื่อสภาพแวดล้อมมีความชื้นสูง แผลจะขยายลุกลามอย่างรวดเร็ว เกิดอาการไหม้ตั้งแต่ปลายใบลงมายังรอยแผล หรือไหม้ทั่วทั้งใบ โดยแผลไหม้ในระยะแรกมีสีน้ำตาลอ่อน แล้วเข้มขึ้นเป็นสีน้ำตาลอมม่วง จนเป็นสีดำในที่สุด บางครั้งพบสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรค มีลักษณะเป็นผงสีดำบนแผล ซึ่งโรคนี้มักพบเกิดร่วมกับโรคใบจุดสีม่วง แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1. ก่อนปลูกควรปรับปรุงดินให้มีสภาพเหมาะสมกับการปลูกหอมและกระเทียม โดยการใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ 2. ใช้หัวพันธุ์ที่ปราศจากโรค โดยแช่หัวพันธุ์ หรือต้นกล้าก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น

ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนการระบาดศัตรูพืช

ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนการระบาดศัตรูพืช

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อนชื้น ฝนตกทั่วไป และตกหนักเป็นบางแห่ง เตือนผู้ปลูกฝรั่ง ในระยะติดผล รับมือแมลงวันผลไม้ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 ฟอง ในผลฝรั่ง ลึกจากผิวประมาณ 2-5 มิลลิลิตร หลังจากฝรั่งติดผลแล้ว 9 สัปดาห์ ระยะหนอนทำลายพืชโดยการชอนไชกินเนื้ออยู่ภายในผล ทำให้ผลเน่าและร่วง แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1. ต้องรักษาความสะอาดในแปลงปลูก โดยเก็บผลที่ถูกแมลงวันผลไม้เข้าทำลาย หรือผลที่เน่าออกจากแปลงปลูก นำไปฝังกลบให้มีระดับหน้าดินหนา 15 เซนติเมตร เพื่อลดการสะสมและขยายพันธุ์ของแมลงวันผลไม้ในแปลงปลูก 2. ควรทำการตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อลดการเกิดร่มเงาในทรงพุ่ม ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ และให้ศัตรูธรรมชาติมีบทบาทในการทำลายแมลงวันผลไม้ได้มากขึ้น 3. ควรห่อผลด้วยถุงพลาสติกหูหิ้วสีขาว ขนาด 6*14 นิ้ว ที่เจาะรูแบบซ่อนรูปสำเร็จมาจากโรงงาน การห่อผลควรเริ่มห่อเมื่อผลมีอายุ