เตือนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ระวังหนอนหน้าแมว

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ระวังหนอนหน้าแมว

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนตกบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ในทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือหนอนหน้าแมว หนอนหน้าแมวจะกัดเข้าทำลายใบปาล์มน้ำมัน หนอนวัยเล็กจะกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้นจะกัดกินจนใบขาด ถ้าระบาดรุนแรง ใบจะถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ผลผลิตลดลง ต้นชะงักการเจริญเติบโต และใช้เวลานานกว่าที่ต้นจะฟื้นตัว ถ้าเกิดการระบาดในแต่ละครั้ง จะใช้เวลาในการกำจัดนาน เนื่องจากหนอนหน้าแมวมีหลายระยะในเวลาเดียวกัน เช่น ระยะหนอนและระยะดักแด้ ทำให้ไม่สามารถกำจัดให้หมดในเวลาเดียวกันได้ แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1. การใช้วิธีกล 1.1 ตัดใบย่อยที่มีหนอนหน้าแมว หรือจับผีเสื้อ ซึ่งเกาะนิ่งในเวลากลางวันตามใต้ทางใบปาล์มน้ำมัน หรือเก็บดักแด้ตามใบ และซอกโคนทางใบรอบต้นมาทำลาย 1.2 ใช้กับดักแสงไฟ โดยใช้แสงไฟ black light หรือ หลอดนีออนธรรมดา วางบนกะละมังพลาสติก ซึ่งบรรจุน้ำผสมผงซักฟอก ให้หลอดไฟอยู่เหนือน้ำประมาณ 5 –

เตือนเกษตรกรผูปลูกดาวเรือง ระวังหนอนกระทู้ผัก

เตือนเกษตรกรผูปลูกดาวเรือง ระวังหนอนกระทู้ผัก

สภาพอากาศในช่วงนี้อุณหภูมิลดต่ำลง ฝนตกชุก เตือนผู้ปลูกดาวเรือง ในระยะติดดอก รับมือหนอนกระทู้ผัก หนอนระยะแรกจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แทะกินผิวใบ ในระยะต่อมาหนอนจะเริ่มแยกย้ายไปต้นอื่น การทำลายจะรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากหนอนมีขนาดใหญ่ สามารถกัดกินใบ ก้าน และดอกของดาวเรือง ทำความเสียหายอย่างมาก แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1. ใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถตากดิน และการเก็บเศษซากพืชอาหาร เพื่อฆ่าดักแด้ เป็นการลดแหล่งสะสมและขยายพันธุ์ 2. การเก็บกลุ่มไข่ และหนอนทำลาย จะช่วยลดการระบาดของหนอนกระทู้ผักลงได้ 3. การใช้เชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ เชื้อ Bacillus thuringinesis อัตรา 60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือพ่นเชื้อไวรัสเอ็นพีวี ของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 50

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ระวัง เพลี้ยจักจั่นมะม่วง

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ระวัง เพลี้ยจักจั่นมะม่วง

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนตกเล็กน้อยบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกมะม่วง ในระยะแทงช่อดอก – พัฒนาผล รับมือเพลี้ยจักจั่นมะม่วง ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยทำลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน ระยะที่ทำความเสียหายให้มากที่สุด คือ ระยะที่มะม่วงกำลังออกดอกโดยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อย หรือไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นมะม่วงดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำหวานเหนียว ๆ ติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบ ๆ ทรงพุ่ม ทำให้ใบมะม่วงเปียก ต่อมาจะเกิดราดำปกคลุม ถ้าเกิดมีราดำปกคลุมมาก มีผลต่อการสังเคราะห์แสง ใบอ่อนที่ถูกดูดน้ำเลี้ยง (โดยเฉพาะระยะใบเพสลาด) จะบิดงอโค้งลงด้านใต้ใบจะมีอาการปลายใบแห้งให้สังเกตได้ แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1. การตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บผลผลิต ช่วยลดที่หลบซ่อนของเพลี้ยจักจั่นมะม่วง ทำให้การพ่นสารฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพดีขึ้น 2. ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัด

เตือนเกษตรกรผู้ปลูก หอม กระเทียม ระวังโรคใบไหม้

เตือนเกษตรกรผู้ปลูก หอม กระเทียม ระวังโรคใบไหม้

สภาพอากาศในช่วงนี้ช่วงต้นฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำ อาจมีฝนตกบางพื้นที่ มีความชื้นในอากาศสูง เตือนผู้ปลูกหอมแดง, หอมหัวใหญ่, หอมแบ่ง, กระเทียม ในระยะ ต้นกล้า-ลงหัว รับมือโรคใบไหม้ (เชื้อรา Stemphylium vesicarium) อาการเริ่มแรก พบจุดสีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาลอ่อนบนใบ มีลักษณะฉ่ำน้ำ ต่อมาจุดเล็กจะขยายเป็นแผลรูปยาวรี หัวท้ายแหลมสีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลอมม่วง เมื่อสภาพแวดล้อมมีความชื้นสูง แผลจะขยายลุกลามอย่างรวดเร็ว เกิดอาการไหม้ตั้งแต่ปลายใบลงมายังรอยแผล หรือไหม้ทั่วทั้งใบ โดยแผลไหม้ในระยะแรกมีสีน้ำตาลอ่อน แล้วเข้มขึ้นเป็นสีน้ำตาลอมม่วง จนเป็นสีดำในที่สุด บางครั้งพบสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรค มีลักษณะเป็นผงสีดำบนแผล ซึ่งโรคนี้มักพบเกิดร่วมกับโรคใบจุดสีม่วง แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1. ก่อนปลูกควรปรับปรุงดินให้มีสภาพเหมาะสมกับการปลูกหอมและกระเทียม โดยการใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ 2. ใช้หัวพันธุ์ที่ปราศจากโรค โดยแช่หัวพันธุ์ หรือต้นกล้าก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น

เกษตรหนองปรือ…ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการเพาะปลูกพืชภายในชุมชุม

เกษตรหนองปรือ…ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการเพาะปลูกพืชภายในชุมชุม

วันที่ 31 ตุลาคม 2567 นางสาวจุฑารัตน์ จันภักดี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอหนองปรือ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการเพาะปลูกพืชภายในชุมชุม โดยได้ไปเก็บข้อมูลที่สวนพงษ์รุกอินทผลัม ของ นายสุเทพ พงษ์รุก เจ้าหน้าที่ได้สอบถามการดูแลรักษาต้น การจัดการภายในสวน และเดินชมสวน ซึ่งทางสวนมีการจดบันทึกการทำกิจกรรมภายในสวน เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับต้นทุน ผลผลิต และปัจจัยต่างๆกับปีต่อๆไป สวนมีการสังเกตและพัฒนาเกี่ยวกับการจัดการสวนอยู่เสมอ สวนพงษ์รุกอินทผลัม หมู่ที่ 6 ตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ต้องกราบขอบพระคุณคุณน้าทั้ง 2 ท่านที่ให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปชมสวนและให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสวนอิทผลัมด้วยนะคะ #เกษตรหนองปรือ#อินทผลัม#สมเด็จเจริญ

เกษตรหนองปรือ…ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแปลงเรียนรู้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

เกษตรหนองปรือ…ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแปลงเรียนรู้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

วันที่ 29 ตุลาคม 2567 นางสาวจุฑารัตน์ จันภักดี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอหนองปรือ และผู้นำชุมชน ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแปลงเรียนรู้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกรภายในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีแปลงเรียนรู้การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และแปลงเปรียบเทียบกับวิธีการปลูกแบบทั่วไป ณ หมู่ที่ 3 ตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี #เกษตรหนองปรือ#แปลงเรียนรู้#ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

เกษตรหนองปรือ…เข้าร่วมประชุมเกษตรอำเภอ ครั้งที่ 10/2567

เกษตรหนองปรือ…เข้าร่วมประชุมเกษตรอำเภอ ครั้งที่ 10/2567

วันที่ 25 ตุลาคม 2567 นายวรพจน์ ทองรอด เกษตรอำเภอหนองปรือ เข้าร่วมประชุมเกษตรอำเภอ ครั้งที่ 10/2567 ซึ่งในการประชุมครั้งนี้มีหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เกษตรอำเภอ และเจ้าหน้าที่เข้าร่วม เพื่อวางแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2568 ณ ห้องประชุมเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี

ลงพื้นที่เก็บข้อมูล นายภากร จีนอยู่ เกษตรกรตำบลหนองปรือ เพื่อส่งประกวดเกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาสวนผสม

ลงพื้นที่เก็บข้อมูล นายภากร จีนอยู่ เกษตรกรตำบลหนองปรือ เพื่อส่งประกวดเกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาสวนผสม

วันที่ 24 ตุลาคม 2567 นางสาวกัญญาณัฐ นิคนธา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนางสาวจุฑารัตน์ จันภักดี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ลงพื้นที่เก็บข้อมูล นายภากร จีนอยู่ เกษตรกรตำบลหนองปรือ เพื่อส่งประกวดเกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาสวนผสม ในพื้นที่มีการทำการเกษตรทั้งนาข้าว ไร่อ้อย ไม้ผล รวมถึงไม้ดอกไม้ประดับ พื้นที่ทำการเกษตรตั้งอยู่ที่ หมู่ 22 ตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี #เกษตรหนองปรือ#เกษตรกรดีเด่น#ไร่นาสวนผสม

เกษตรหนองปรือ…ร่วมกิจกรรมน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “วันปิยมหาราช”

เกษตรหนองปรือ…ร่วมกิจกรรมน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “วันปิยมหาราช”

วันที่ 23 ตุลาคม 2567 นายวรพจน์ ทองรอด เกษตรอำเภอหนองปรือ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอหนองปรือ ร่วมกิจกรรมน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “วันปิยมหาราช” เพื่อแสดงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกถึงในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ทั้งในด้านการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยได้มีการวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี

เข้าร่วมประชุมวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการผลิตมะพร้าวอ่อน ปี 2565-2566 และประมาณการ ปี 2567

เข้าร่วมประชุมวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการผลิตมะพร้าวอ่อน ปี 2565-2566 และประมาณการ ปี 2567

วันที่ 22 ตุลาคม 2567 นางสาวจุฑารัตน์ จันภักดี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมประชุมวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการผลิตมะพร้าวอ่อน ปี 2565-2566 และประมาณการ ปี 2567 เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านระบบ zoom meeting