การจัดการ ด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง (Mango Seed Weevil)
Sternochetus olivieri (Faust) และ S. frigidus (Fabricius)

วงจรชีวิตด้วงงวง (Sternochetus frigidus (Fabricius)
ด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วงเป็นศัตรูพืชที่พบการทำลายภายในเมล็ดของมะม่วงเท่านั้น โดยหนอนจะเจาะเข้าทำลายเมล็ดตั้งแต่ผลอ่อน
หนอนจะเจริญเติบโตอยู่ภายในเมล็ดจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย และออกจากผลเมื่อเมล็ดมะม่วงเน่าเปื่อยและมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ระยะติดผลอ่อน
ตัวเต็มวัยวางไข่ที่ผลอ่อนของมะม่วงเมื่อไข่ฟักเป็นหนอนจะชอนไชเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ภายในเมล็ดจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย
ป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีตามคำแนะนำ
ระยะออกดอก
ตัวเต็มวัยวางไข่ที่ผลอ่อนของมะม่วง เมื่อไข่ฟักเป็นหนอนจะชอนไชเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ภายในเมล็ดจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัญ
ระยะหลังการเก็บเกี่ยว
ตัวเต็มวัยหลบซ่อนใต้เศษใบมะม่วง บริเวณรอยแตกของต้นมะม่วงและภายในเมล็ดที่ร่วงหล่นจนแห้ง
ป้องกันกำจัดโดย
1) ทำความสะอาดแปลง
2) ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง และนำไปทิ้งนอกแปลง
3) กำจัดวัชพืช เศษซากพืช
4) เก็บผลมะม่วงที่ร่วงหล่นหรือเศษซากเมล็ด นำไปทิ้งหรือเผาทำลายนอกแปลง
5) ใช้ชีวภัณฑ์คือ เชื้อราบิวเวอร์เรีย
6) ใช้สารเคมีตามคำแนะนำ
ใช้สารเคมีตามคำแนะนำ คือ อิมิดาโคลพริด
-แบบน้ำ อัตรา 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร
-แบบผง อัตรา 5-10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
หรือ แลมป์ดาไซฮาโลทริน อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร
หรือ คาร์บาริล 80% อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรู ผสมสารจับใบ(ใช้สลับกันเพื่อป้องกันแมลงดื้อยา) โดยปฏิบัติดังนี้
ㆍราดสารเคมีบนดินในร้ศมีทรงพุ่มและผ่นล้างลำต้นหลังจากตัดแต่งกิ่ง
ㆍผ่นสารเคมีตั้งแต่มะม่วงติดผลอ่อน (หลังจากช่อดอกโรย)
โดยพ่นช่อผลทุก ๆ 7 วันจนถึงห่อผลมะม่วง หรือถ้าไม่ห่อผลมะม่วง ต้องพ่นจนถึงผลมะม่วงเจริญเติบโตในระยะเข้าไคล
ข้อควรระวัง
1) ไม่ควรเคลื่อนย้ายผลผลิตที่มีแมลงไปแหล่งอื่น ๆ หรือทิ้งเมล็ดที่มีแมลงไว้โดยไม่มีการควบคุมและกำจัด
2) กรณีโรงงานแปรรูปมะม่วง ควรเก็บเมล็ดไว้ในมุ้งลวดและนำไปเผาทำลาย
3) กรณีนำเมล็ดไปผลิตเป็นต้นตอมะม่วง ควรใช้เมล็ดจากแหล่งที่ไม่มีการระบาดและควรชุบสารเคมืตามคำแนะนำ* ประมาณ 25 นาที

เตือนภัยการระบาด…ด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *