สภาพแวดล้อม / สภาพอากาศที่เกิดในช่วงนี้  :  อากาศร้อน มีฝนตกบางพื้นที่ 

ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ  :  พริก

ะยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้  :  ทุกระยะการ เจริญเติบโต 

 ปัญหาที่ควรระวัง :  เพลี้ยไฟพริก

ข้อสังเกตลักษณะ / อาการที่พบ  :  ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดใบอ่อน ตาดอก และดอก ทำให้ใบ หรือ ยอดอ่อนหงิก ขอบใบหงิกหรือม้วนขึ้นด้านบน ถ้าเข้าทำลายระยะพริกออกดอก จะทำให้ ดอกพริกร่วงไม่ติดผล การทำลายในระยะผล จะทำให้รูปทรงของผลบิดงอ ถ้าการระบาด รุนแรงพืชจะชะงักการเจริญเติบโต หรือ แห้งตายในที่สุด มักพบระบาดมากในช่วง อากาศแห้งแล้ง

แนวทางป้องกัน / แก้ไข  :       

1. สุ่มสำรวจพริก 100 ยอดต่อไร่ ทุกสัปดาห์ โดยเคาะลงบนแผ่นพลาสติกสีดำ และทำการ ป้องกันกำจัดเมื่อพบเพลี้ยไฟพริกเฉลี่ย มากกว่า 5 ตัวต่อยอด ในขั้นต้นควรเพิ่ม ความชื้นโดยการให้น้ำ อย่าปล่อยให้พืชขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ และเพลี้ยไฟพริก จะระบาดอย่างรวดเร็ว

2. ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการ ป้องกันกำจัด เช่น สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สไปโรมีซิเฟน 24% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

**** ขณะพ่นสารควรปรับหัวฉีดให้เป็นฝอย ที่สุด และพ่นให้ทั่วตามส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ เพลี้ยไฟพริกอาศัยอยู่ กรณีระบาดรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพอากาศแห้งแล้ง ควรใช้ปุ๋ยทางใบ เพื่อช่วยให้ต้นพริกฟื้นตัว จากอาการใบหงิกได้ดีและเร็วยิ่งขึ้น

เตือนการระบาด เพลี้ยไฟพริก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *