ในฤดูร้อน อุณหภูมิสูง อากาศแห้งแล้ง ความชื้นต่ำ ระวัง “หนอนกออ้อย” ระบาด สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ทั้งอ้อยตอหรืออ้อยปลูก โดยเฉพาะอ้อยที่อยู่ในระยะแตกกอจะพบการระบาดและสร้างความเสียหายได้มากที่สุด

กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้
1. ปลูกอ้อยพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อหนอนกอ เช่น เอฟ156, อู่ทอง1 และ เค84 – 2002 2. ถ้าต้องไถตออ้อยทิ้งให้ทำลายตออ้อยให้หมด เพื่อกำจัดหนอนหรือดักแด้ที่อยู่ในตออ้อย
3. ลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในระยะเริ่มปลูก เพราะหนอนจะชอบหน่ออ้อยที่มีความอวบอ้วน
4. การใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น
    – ปล่อยแตนเบียนหนอนโคทีเซีย อัตรา 100 – 500 ตัวต่อไร่ เมื่อพบหนอน ปล่อยทุก 7 วัน 4 ครั้ง
    – ปล่อยแตนเบียนไข่ตริโคแกรมม่า อัตรา 20,000 ตัวต่อไร่ เมื่ออ้อยอายุ 2 เดือน ปล่อยทุก 15 วัน 2 ครั้ง
    – ปล่อยแมลงหางหนีบ อัตรา 500 ตัวต่อไร่ 5. การใช้สารเคมี
    – เดลต้ามีทรีน (ชื่อการค้าคือ เดซีส 3%อีซี, ดัสโต้ 3%อีซี หรือซิสรีน 2.5%อีซี เป็นต้น) อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้งห่างกันครั้งละ 15 วัน
    – ไซเปอร์เมทริน (ชื่อการค้า เช่น ซิมบุช 25%อีซี,  นอคทริน 25% อีซี,  มาแตง 25%อีซี, แชมป์ 25% อีซี
นูเรล 25%อีซี, มิกซ์ 25%อีซี และริคาด 15%อีซี) อัตรา 15 – 30 ซีซีต่อน้ำ20 ลิตร 6. พ่นด้วยปิโตเลียมออยส์    (83.9 % อีซี) 100 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร ควรพ่นก่อนการปล่อยแตนเบียนหนอน  หรือ
แตนไข่ประมาณ 10 – 15 วัน
หนอนกออ้อย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *