(14/5/67) ให้คำแนะนำการป้องกันกำจัดศัตรูพืชในไม้ผล ตำบลวังขนาย

สำนักงานเกษตรอำเภอท่าม่วง โดยนางสาวกวินทรากานต์ มาลัยทองแก้วสุภา เกษตรอำเภอท่าม่วง มอบหมายให้นางประภาพรรณ สุนทรวิภาต นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ และนางสาวสายชล พ่วงคำมี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนให้คำแนะนำการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผล ได้แก่ ลำไยและขนุน ณ หมู่ 3 ตำบลวังขนาย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ลำไยเป็นโรคราดำ ที่ผลและใบจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุมาจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Meli­o­la หรือ Capn­odi­um เป็นต้น ส่วนมากเกิดจากการเข้าทำลายของแมลง เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยจักจั่น หรือเพลี้ยอ่อน ที่มาดูดกินน้ำเลี้ยงและถ่ายมูลน้ำหวาน (hon­ey dew) บนผิวพืช สปอร์ของเชื้อราที่อยู่ในอากาศจะปลิวมาติดและเจริญปกคลุมผิวพืช เป็นแผลจุดดำหรือคราบสีดําของเชื้อราขึ้นปกคลุมใบ กิ่ง ช่อดอก หรือผลของลำไย โดยเชื้อราไม่ได้ทําลายต้นลำไยโดยตรงแต่จะไปขัดขวางการสังเคราะห์แสงของใบ ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต อาการถ้าปรากฏที่ช่อดอกรุนแรงจะทําให้ดอกร่วงไม่สามารถผสมเกสรได้ หรือถ้าเป็นช่วงติดผลก็จะทำให้ผลดูสกปรกส่งผลให้จำหน่ายได้ราคาต่ำ ทางสำนักงานเกษตรอำเภอได้แนะนำวิธีการป้องกันและกําจัด คือให้ควรหมั่นสำรวจและทำการป้องกันและกําจัดแมลงกลุ่มปากดูดไม่ให้เกิดการระบาด โดยเฉพาะในช่วงแตกใบอ่อนหรือมีช่อดอก ควบคู่กับสารป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น คอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ ตามอัตราที่แนะนำ เป็นต้น

 

Leave a Comment

Your email address will not be published.