(1/9/66) แจ้งเตือนโรคเน่าเละ ในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด

ระวัง โรคเน่าเละ (เชื้อแบคทีเรีย Pec­to­bac­teri­um caro­tovo­rum sub­sp. caro­tovo­rum) Pec­to­bac­teri­um caro­tovo­rum sub­sp. caro­tovo­rum ในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด (เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลีผักกาดขาว ผักกาดหัว ผักฮ่องเต้ ผักหางหงษ์ ผักกวางตุ้ง คะน้า เป็นต้น)
สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด (เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลีผักกาดขาว ผักกาดหัว ผักฮ่องเต้ ผักหางหงษ์ ผักกวางตุ้ง คะน้า เป็นต้น) ในระยะ ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคเน่าเละ (เชื้อแบคทีเรีย Pec­to­bac­teri­um caro­tovo­rum sub­sp. caro­tovo­rum)
อาการเริ่มแรก แผลมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำเล็ก ๆ บนใบหรือบริเวณลำต้น ต่อมาแผลจะขยายลุกลามมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม เนื้อเยื่อพืชบริเวณแผลจะยุบตัวลง มีเมือกเยิ้มออกมา และมีกลิ่นเหม็นเฉพาะของโรคนี้ หลังจากนั้นพืชจะเน่ายุบตายไปทั้งต้น

**** โรคนี้พบระบาดมากในฤดูฝน เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืช ทั้งที่อยู่ในแปลงปลูกและในโรงเก็บ

แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และมีการระบายน้ำที่ดี
2. ก่อนปลูกพืชควรไถพรวนดินให้ลึกมากกว่า 20 เซนติเมตรจากผิวดิน และตากดินไว้นานกว่า 2 สัปดาห์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในดินลงได้มาก
3. ไม่ควรปลูกพืชแน่นเกินไป เพื่อไม่ให้มีความชื้นสูง เป็นการลดการระบาดของโรค
4. ระมัดระวังไม่ให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชเกิดแผล เป็นช่องทางให้เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายพืช
5. ควรดูแลไม่ให้พืชขาดธาตุแคลเซียม และโบรอน เพราะจะทำให้พืชเกิดแผลจากอาการปลายใบไหม้และไส้กลวง ทำให้เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายได้ง่าย
6. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอหากพบต้นที่แสดงอาการของโรค ให้ขุดต้นที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก
7. ทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรหลังใช้กับต้นที่เป็นโรค
8. หลังการเก็บเกี่ยว ควรไถกลบเศษพืชผักทันที และตากดินไว้ระยะหนึ่งแล้วไถกลบอีกครั้ง เพื่อลดการสะสมของเชื้อสาเหตุโรค
9. แปลงที่มีการระบาดของโรค ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และข้าวโพด เป็นต้น

Leave a Comment

Your email address will not be published.