ทะเบียนเกษตรกร

ประโยชน์ของการขึ้นทะเบียนเกษตรกร/สมุดทะเบียนเกษตรกร

1. เกษตรกรมีข้อมูลประวัติการทำกิจกรรมการเกษตรของตนเอง เพื่อใช้ประกอบการวางแผนการทำการเกษตรในฤดูต่อไป
2. ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการขอความช่วยเหลือจากราชการในกรณีประสบภัยพิบัติ หรือรับการช่วยเหลือกรณีทำประกันภัยข้าวนาปี
3. ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการเข้า่ร่วมโครงการของภาครัฐ เช่น โครงการประกันรายได้ โครงการบัตรเครดิตเกษตรกร เป็นต้น
4. ใช้แสดงตัวเกษตรกร ว่าเป็นเกษตรกรผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้เรียบร้อยแล้ว เช่น แนบหลักฐานการเป็นเกษตรกรกรณีขอไฟฟ้าเพื่อการเกษตร , การขอโควต้าศึกษาต่ออุดมศึกษากรณีบุตรหลานเกษตกร
5. ประโยชน์ต่อภาครัฐ เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการเกษตรในทุกระดับ
* เกษตรกรที่เคยขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้แล้ว ให้มาติดต่อขอรับสมุดทะเบียนเกษตรกร ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ โดยนำรูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนของเกษตรกร

“ขอเชิญชวนเกษตรกรทุกครัวเรือนแจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นข้อมูลปัจจุบันในทุกรอบการเพาะปลูกพืช” 
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร

1. เกษตรกรขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรทุกรอบการเพาะปลูก
2. เกษตรกรตรวจสอบข้อมูลและลงลายมือชื่อรับรองในแบบปิดประกาศ/ประชาคม ณ หมู่บ้านตามที่ตั้งแปลงเพาะปลูก
3. เจ้าหน้าที่และคณะทำงานตรวจสอบการขึ้นทะเบียน ระดับหมู่บ้าน สุ่มตรวจสอบพื้นที่จริงพร้อมวัดพิกัดพื้นที่และยืนยันข้อมูลในระบบ

 

การขึ้นทะเบียนเกษตรกร 

1. เกษตรกรรายเดิมแปลงเดิม
แจ้งปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
โดยยื่นแบบคำร้อง ทบก.01
หรือแจ้งข้อมูลผ่านแอปพลิเคชั่น Farmbook  

2. เกษตรกรรายใหม่
หรือเกษตรกรรายเดิมแต่เพิ่มแปลงแจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกร โดย
กรอกข้อมูลในแบบคำร้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ทบก.01)  พร้อมลงลายมือชื่อของเกษตรกร และพยาน (ผู้ใหญ่บ้านตามที่ตั้งแปลง) และแนบเอกสาร ดังนี้
1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. สำเนาหลักฐานที่ดินที่ทำการเพาะปลูกพืช
4. หากเช่าที่ดินให้แนบสำเนาสัญญาเช่าและสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของที่ดิน
5. เอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล 
***ยื่นแบบคำร้องพร้อมเอกสารที่สำนักงานเกษตรกรอำเภอ

 

การปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ผ่านแอปพลิเคชั่น Farmbook สำหรับเกษตรกรรายเดิมแปลงเดิม