กรมส่งเสริมการเกษตร ห่วงใยเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ

กรมา่งเสริมการเกษตร ได้กำหนดแนวทางจัดการน้ำท่วมเพื่อความพร้อมรับมือ – ป้องกัน – ฟื้นฟูพื้นที่เกษตรที่ประสบภัยพิบัติ โดยขับเคลื่อนให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทุกพื้นที่เดินหน้าตามแนวทางจัดการน้ำท่วมภาคเกษตรไทย 4 ระยะ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากภัยพิบัติ ประกอบด้วย 1.ระยะลดผลกระทบ (Mitigation) ป้องกันความเสียหายล่วงหน้าก่อนเกิดภัย โดยวางผังแปลงเพาะปลูกใหม่ให้มีร่องระบายน้ำ และสร้างคันดินหรือประตูน้ำ รวมทั้งเลือกพันธุ์พืชและช่วงเวลาฤดูเพาะปลูกให้เหมาะสม 2. ระยะเตรียมพร้อม (Preparedness) เตรียมตัวก่อนภัยมาถึง โดยหมั่นติดตามพยากรณ์อากาศและช่องทางแจ้งเตือนภัยพิบัติ เช่น หอกระจายข่าว ไลน์และเฟซบุ๊กจากหน่วยงานภาครัฐ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และเตรียมแผนอพยพหรือเก็บเกี่ยวพืชกรณีฉุกเฉิน 3. ระยะตอบสนอง (Response) บรรเทาผลกระทบในระยะวิกฤต เพื่อรักษาชีวิตพืชในแปลงปลูก โดยเร่งระบายน้ำออกทันทีเมื่อระดับน้ำภายนอกลด และเติมอากาศให้รากพืช อาจใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มาป้องกันโรครากเน่า เป็นต้น 4. ระยะฟื้นฟู

#เกษตรเมืองกาญจนบุรี…ให้บริการในพื้นที่ รับขึ้น/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2568 @ พื้นที่ตำบลวังเย็น

#เกษตรเมืองกาญจนบุรี…ให้บริการในพื้นที่ รับขึ้น/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2568 @ พื้นที่ตำบลวังเย็น

วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี โดย นางสาวกวินทรากานต์ มาลัยทองแก้วสุภา เกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี ลงพื้นให้บริการ ขึ้น/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2568 เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรและ เพื่อให้ข้อมูลการเพาะปลูกของเกษตรกรเป็นปัจจุบัน ชัดเจน และสามารถนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลสำคัญในการวางแผนพัฒนา สนับสนุน และออกมาตรการต่าง ๆ ให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกรได้อย่างแท้จริง ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลวังเย็น อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

#เกษตรเมืองกาญจนบุรี…เข้าร่วมประชุมเตรียมจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

#เกษตรเมืองกาญจนบุรี…เข้าร่วมประชุมเตรียมจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ 7 กรกฎาคม 2568 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี โดย นางสาวกวินทรากานต์ มาลัยทองแก้วสุภา เกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี เข้าร่วมประชุมเตรียมจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม 2568 การประชุมจัดขึ้นผ่านระบบออนไลน์ (ZOOM CLOUD MEETING) โดยมีนายวีระศักดิ์ สุขทอง เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานการประชุม และมีส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง เพื่อร่วมกันวางแผนและเตรียมการจัดงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสมพระเกียรติ

เกษตรเมืองกาญจนบุรี…ให้บริการในพื้นที่ รับขึ้น/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2568 @ พื้นที่ตำบลวังด้ง

เกษตรเมืองกาญจนบุรี…ให้บริการในพื้นที่ รับขึ้น/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2568 @ พื้นที่ตำบลวังด้ง

#เกษตรเมืองกาญจนบุรี…ให้บริการในพื้นที่ รับขึ้น/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2568 วันที่ 7 กรกฎาคม 2568 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี โดย นางสาวกวินทรากานต์ มาลัยทองแก้วสุภา เกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี ลงพื้นให้บริการ ขึ้น/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2568 เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร และเพื่อให้ข้อมูลการเพาะปลูกของเกษตรกรเป็นปัจจุบัน ชัดเจน และสามารถนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลสำคัญในการวางแผนพัฒนา สนับสนุน และออกมาตรการต่าง ๆ ให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกรได้อย่างแท้จริง ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 และวัดวังจาน ตำบลวังด้ง อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ประชาสัมพันธ์ “รับสมัครเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2568 เฟ้นหาเกษตรกรต้นแบบ สู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงสีเขียวในยุควิกฤตสิ่งแวดล้อมประชาสัมพันธ์” มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด

ประชาสัมพันธ์ “รับสมัครเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2568 เฟ้นหาเกษตรกรต้นแบบ สู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงสีเขียวในยุควิกฤตสิ่งแวดล้อมประชาสัมพันธ์” มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด

มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด เปิดรับสมัครเกษตรกรทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ “คัดเลือกเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2568” ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 17 ต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด “ฟาร์มแห่งอนาคต เกษตรกรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสีเขียว” เพื่อเฟ้นหาเกษตรกรต้นแบบที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชนและดูแลสิ่งแวดล้อมในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤต โครงการนี้มุ่งส่งเสริมเกษตรกรที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ในการทำเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำเกษตรอินทรีย์ การใช้พลังงานสะอาด การปลูกพืชหมุนเวียน การฟื้นฟูระบบนิเวศ หรือการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เกษตรกรรุ่นใหม่ และชุมชนรอบข้างได้อย่างแท้จริง ในปีนี้ แนวคิดของโครงการตอบรับกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งจากภาวะโลกร้อน เอลนีโญ ฝุ่น PM 2.5 และการใช้ทรัพยากรที่ไม่ยั่งยืน โครงการจึงเน้นการคัดเลือกเกษตรกรที่สามารถเป็นแบบอย่างของ “การทำเกษตรอย่างรับผิดชอบ” พร้อมทั้งสร้างความสมดุลระหว่างผลผลิตทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่รอบสุดท้ายจะได้รับโอกาสเข้าร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการเกษตรยั่งยืน เข้าร่วมเครือข่ายเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด และมีโอกาสต่อยอดธุรกิจกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมรับ โล่ประกาศเกียรติคุณและเงินสนับสนุนรวมมูลค่ากว่า 400,000 บาท 1.คุณสมบัติส่วนบุคคล 1.1

เกษตรเมืองกาญจนบุรี…ลงพื้นที่ติดตามเกษตรแปลงใหญ่มันสำปะหลัง

เกษตรเมืองกาญจนบุรี…ลงพื้นที่ติดตามเกษตรแปลงใหญ่มันสำปะหลัง วันที่ 10 มิถุนายน 2568 โดยนางสาวกวินทรากานต์ มาลัยทองแก้วสุภา เกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี ลงพื้นที่ติดตามโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ได้ดำเนินการสำรวจแปลงขยายพันธุ์มันสำปะหลังสะอาด พันธุ์อิทธิ 1 สมาชิกแปลงใหญ่หนองสามพราน และสำรวจความต้องการวัสดุการเกษตรเพื่อสนับสนุนการจัดทำแปลงต้นแบบมันสำปะหลังพันธุ์สะอาดปลอดโรคไวรัสใบด่างให้แก่สมาชิกแปลงใหญ่หนองสามพราน ตำบลวังด้ง อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ทั้งนี้ หากแปลงต้นแบบมีการระบาดโรคไวรัสใบด่างเป็นไปตามหลักวิชาการจะสามารถขยายพันธุ์มันสะอาดได้ จำนวน 15000 ต้น และได้เทคโนโลยีป้องกันกำจัดใบด่างในพื้นที่ได้ ณ แปลงใหญ่มันสำปะหลังบ้านหนองสามพราน ตำบลวังด้ง และ แปลงใหญ่มันสำปะหลังตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

เกษตรเมืองกาญจนบุรี….ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนแปลงเกษตร ณ โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก

วันที่ 10 มิถุนายน 2568 โดยนางสาวกวินทรากานต์ มาลัยทองแก้วสุภา เกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนกิจกรรมแปลงเกษตรภายในโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการสำรวจ ป้องกันกำจัดโรคและแมลงภายในแปลง เพื่อให้โรงเรียนนำไปปรับใช้เป็นการเพิ่มผลผลิตและลดการทำลายของโรคแมลง ณ โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก หมู่ 2 ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

เกษตรเมืองกาญจนบุรี…มอบใบรับรองมาตรฐาน GAP แก่เกษตรกร ยกระดับคุณภาพสินค้า จากแปลงเกษตรสู่ผู้บริโภค

เกษตรเมืองกาญจนบุรี…มอบใบรับรองมาตรฐาน GAP แก่เกษตรกร ยกระดับคุณภาพสินค้า จากแปลงเกษตรสู่ผู้บริโภค

วันที่ 10 มิถุนายน 2568 โดยนางสาวกวินทรากานต์ มาลัยทองแก้วสุภา เกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี ส่งมอบใบรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) แก่เกษตรกร จำนวน 21 ราย ตามโครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานสากล ใบรับรองมาตรฐาน GAP ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จด้านความปลอดภัยทางอาหารและการพัฒนาเกษตรกรสู่มาตรฐาน โดยเกษตรกรที่ผ่านการตรวจประเมิน ได้รับการรับรองว่าปฏิบัติการเกษตรตามหลักเกณฑ์ที่ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ณ วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปบ้านตอไม้แดง หมู่ 8 ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

เกษตรเมืองกาญจนบุรี….ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและเตรียมความพร้อมจัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประตูด่าน (สังกัด สพฐ.)

วันที่ 10 มิถุนายน 2568 โดยนางสาวกวินทรากานต์ มาลัยทองแก้วสุภา เกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนกิจกรรมแปลงเกษตรภายในโรงเรียน และเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกร พร้อมทั้งให้คำแนะนำแนวทางการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกร ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประตูด่าน (สังกัด สพฐ) หมู่ 14 ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

เกษตรเมืองกาญจนบุรี…ติดตามการทดสอบพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานใบด่าง พันธุ์ อิทธิ 1

วันที่ 9 มิถุนายน 2568 โดยนางสาวกวินทรากานต์ มาลัยทองแก้วสุภา เกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาญจนบุรี ติดตามการทดสอบพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานใบด่าง พันธุ์อิทธิ1 จำนวน 10 ไร่ ภายใต้การดูแลรักษาของสมาชิกแปลงใหญ่พุประดู่พัฒนา ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า แปลงพันธุ์มันสำปะหลังเจริญเติบโตได้ดี แต่ประสบปัญหาสภาพดินไม่อุดมสมบูรณ์จึงมีความเหลืองซีด จากการธาตุรองเสริม ทั้งนี้ ได้มอบธาตุอาหารพืชเพื่อลดอาการเบื้องต้น แปลงมันสำปะหลังพันธุ์อิทธิ 1 ปลูกในพื้นที่มีการระบาดโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง