พัฒนาศักยภาพกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร

พัฒนาศักยภาพกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร

วันที่ 31 มกราคม 2567 นายทศวรรษ แผนสมบูรณ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรอำเภอเลาขวัญ และ นางบัวหวัน แจ็ดนาลาว กรรมการผู้นำกลุ่มแม่บ้านระดับจังหวัดกาญจนบุรี เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัด (รูปแบบออนไลน์) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัดกาญจนบุรีตามบริบทของพื้นที่

วสช.โคกหนองนาสวนไผ่ไฮเทคเพื่อสัมมาชีพ

วสช.โคกหนองนาสวนไผ่ไฮเทคเพื่อสัมมาชีพ

วันที่ 31 มกราคม 2566 สำนักงานเกษตรอำเภอเลาขวัญร่วมกับหน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน นายอำเภอเลาขวัญ สภาเกษตรกรจังหวัดกาญจนบุรี ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเลาขวัญ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองไก่ต่อ และเกษตรกรในพื้นที่ ติดตามและเยี่ยมเยียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคกหนองนาสวนไผ่ไฮเทคเพื่อสัมมาชีพ เพื่อรับทราบปัญหาในพื้นที่และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวของเพื่อร่วมกันเสนอและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ณ หมู่ 7 ตำบลหนองโสน อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

พัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงาน วสช.

พัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงาน วสช.

สำนักงานเกษตรอำเภอเลาขวัญ โดยนายทศวรรษ แผนสมบูรณ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมการจัดอบรมพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2567 ณ ระเบียงไม้รีสอร์ท ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ขยายผลการดำเนินงานไปสู่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนส่วนภูมิภาค สร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนระดับจังหวัด และระดับอำเภอ

พิจารณากลั่นกรองเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัดปี 2567

พิจารณากลั่นกรองเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัดปี 2567

วันที่ 30 มกราคม 2567 คณะกรรมการคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2567 นำโดยนายชยุติ โสไกร หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต นายประคอง ศิลลา หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช นางสาวอัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาราชการแทนหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร นางสาวธิดารักษ์ แสงอรุณ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ และนายธงชัย จันทร์จู นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี ดำเนินการลงพื้นที่พิจารณากลั่นกรองการคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2567 สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม (นายชัยวัสส์ แย้มสุข หมู่ 6 ตำบลหนองปลิง) สาขาอาชีพทำไร่ (นายเกษร

ติดตามการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

ติดตามการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

วันที่ 25 มกราคม 2567 สำนักงานเกษตรอำเภอเลาขวัญ โดยนายพิพัฒน์ คลาดโรค นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และนายปริญญา ศรสุริวงค์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พร้อมกับให้คำแนะนำในการต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชนแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในตำบลทุ่งกระบ่ำ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

ติดตามและสำรวจแมลงวันผลไม้

ติดตามและสำรวจแมลงวันผลไม้

วันที่ 25 มกราคม 2567 สำนักงานเกษตรอำเภอเลาขวัญ โดยนายพิพัฒน์ คลาดโรค นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และนายปริญญา ศรสุริวงค์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามและสำรวจแมลงวันผลไม้โดยใช้กับดักสไตเนอร์ ร่วมกับสารเมทธิลยูจินอล สารล่อแมลงวันเพศผู้ เพื่อจำแนกชนิดและจำนวนแมลงวันผลไม้ในการควบคุมแบบครบวงจร ณ หมู่ที่ 5 และหมู่ 9 ตำบลทุ่งกระบ่ำ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

โรคไหม้ข้าว

โรคไหม้ข้าว

ลักษณะอาการ        ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล   ความกว้างของแผลประมาณ 2 – 5 มม.  และความยาวประมาณ 10 – 15 มม. แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ   ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้       ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น  ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ  ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ       ระยะออกรวง (โรคเน่าคอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมดแต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะ หักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก การแพร่ระบาด       พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น    ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยอัตราสูงและมีสภาพอากาศแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในกลางคืน

โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง

โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนตกเล็กน้อยบางพื้นที่  เตือนผู้ปลูกพืชตระกูลแตง (เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ) ในทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคราน้ำค้าง (เชื้อรา Peronospora parasitica) พบโรคได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช มักพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน แล้วขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบน อาการเริ่มแรกจะเห็นบริเวณด้านบนใบมีลักษณะเป็นจุดหรือปื้นแผลสีเหลือง ในตอนเช้าที่สภาพอากาศมีความชื้นสูงจะพบเส้นใยของเชื้อราลักษณะเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรงแผลบริเวณด้านใต้ใบ ถ้าโรคระบาดรุนแรงแผลจะลามขยายใหญ่ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต่อมาใบจะเหลืองและแห้ง หากเป็นโรคในระยะกล้า จะทำให้ต้นกล้าแคระแกร็น หรือตาย **** ในกะหล่ำดอกและบรอกโคลี หากโรครุนแรงก้านดอกจะยืดและดอกอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรง แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและปราศจากโรค 2. ก่อนปลูกควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส

แมลงดำหนามมะพร้าว

แมลงดำหนามมะพร้าว

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนตกเล็กน้อยบางพื้นที่เตือนผู้ปลูกมะพร้าว ในระยะยังไม่ให้ผลผลิต ให้ผลผลิตแล้ว รับมือแมลงดำหนามมะพร้าว ทำลายส่วนใบของมะพร้าว โดยทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย อาศัยอยู่ในใบอ่อนที่ยังไม่คลี่ของมะพร้าว และแทะกินผิวใบ ใบมะพร้าวที่ถูกทำลายเมื่อใบคลี่กางออกจะมีสีน้ำตาลอ่อน หากใบมะพร้าวถูกทำลายติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ยอดของมะพร้าวมีสีน้ำตาล เมื่อมองไกล ๆ จะเห็นเป็นสีขาวโพลน ชาวบ้านเรียก “มะพร้าวหัวหงอก” แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1. วิธีเขตกรรมและวิธีกล ไม่ควรเคลื่อนย้ายต้นพันธุ์มะพร้าวหรือพืชตระกูลปาล์มมาจากแหล่งที่มีการระบาด 2. การใช้ชีววิธี การใช้แตนเบียนที่เฉพาะเจาะจงกับแมลงดำหนาม เช่น แตนเบียนอะซีโคเดส ฮิสไพนารัม (Asecodes hispinarum) มาเลี้ยงขยายเพิ่มปริมาณ และปล่อยทำลายหนอนแมลงดำหนามมะพร้าว 3. การใช้สารเคมี     3.1 กรณีมะพร้าวสูงกว่า 12 เมตร ให้ฉีดสารเข้าต้น ด้วยสารอีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% ECอัตรา 50 มิลลิลิตรต่อต้น

ไรแดงมันสำปะหลัง

ไรแดงมันสำปะหลัง

ภาวะที่อากาศร้อน แห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง เป็นสภาพที่เหมาะต่อการระบาดของไรแดงมันสำปะหลัง  พื้นที่ใดประสบกับภาวะดังกล่าว เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก เมื่อเริ่มพบการระบาด จะได้ป้องกันกำจัดทันก่อนที่มันสำปะหลังแสดงอาการรุนแรงซึ่งกระทบต่อการให้ผลผลิต ไรแดงหม่อน หรือไรแดงมันสำปะหลัง (Mulberry red mite : Tetranychus truncatus Ehara) :   เป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณใต้ใบและสร้างเส้นใยอยู่เหนือผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายอยู่ ผลของการดูดกินน้ำเลี้ยงของไรตรงบริเวณใต้ใบ มีผลทำให้หน้าใบเกิดจุดประด่างขาว โดยเฉพาะตามแนวเส้นใบ ต่อมาขยายแผ่กว้างขึ้น ทำให้หน้าใบทั้งหมดมีสีขาวซีด ใบกระด้าง กรอบ หากระบาดรุนแรง ใบร่วงหลุดจากต้น หากการระบาดไม่รุนแรง เก็บใบมันสำปะหลังที่พบไร ไปเผาทำลาย กรณีที่มีการระบาดรุนแรง กลุ่มกีฏวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำชนิดและอัตราของสารฆ่าไรที่มีประสิทธิภาพในการกำจัด ดังนี้ – ไพริดาเบน (pyridaben) 20%