ข้อมูลหน่วยงานของรัฐ

สำนักงาน ก.พ.ร. ได้แจ้งหน่วยงานทราบถึงการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตร 22 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติมอบให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการติดตาม เร่งรัด ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกหกสิบวันว่าหน่วยงานของรัฐใดยังมิได้ดำเนินการตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง ในการประกาศกำหนดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชนติดต่อราชการตามมาตรา 10 รวมทั้งกำหนดระบบสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 16 ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดตามมาตรา 6 หรือภายในวันที่ 6 สิงหาคม 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. ขอแจ้งข้อมูลหน่วยงานที่จัดทำประกาศฯ และคำสั่งฯ เรียบร้อยแล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 6 สิงหาคม

สำรวจใบด่างผ่าน Google form

ขอความร่วมมือเกษตรกรทุกท่านที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี ช่วยรายงานข้อมูลพื้นที่พบการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง ผ่านระบบ Google Form(ตาม QR code ของกลุ่มจังหวัด) หมายเหตุ โดยการสำรวจข้อมูลครั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นที่การระบาดที่เป็นจริง และใกล้เคียงกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด นำไปสู่การวางแผนการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังระดับประเทศ

การขึ้นทะเบียนเกษตรกร

สำนักงานเกษตรอำเภอเลาขวัญ รับขึ้นและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ ประจำปี 2566/67 ตามแผนประชาสัมพันธ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรไม่ต้องเดินทางมาที่สำนักงานเกษตรอำเภอ โดยการขึ้นและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบันเพื่อเป็นการยืนยันตัวตน และเป็นข้อมูลการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร รวมถึงเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช และสนับสนุนโครงการมาตรการภาครัฐต่างๆ โดยเมื่อเกษตรกรทำการเพาะปลูกแล้ว 15 วัน ให้เร่งมาแจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรหากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้นให้แจ้งปรับปรุงข้อมูลทุกปี ให้เป็นปัจจุบัน

การป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

การป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

สารเคมีที่แนะนำ โดยเลือกใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่งผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน และให้สลับกลุ่มสาร ข้าวระยะกล้าถึงแตกกอ (อายุ 30-45 วัน) -บูโพรเฟซิน (Brprofezin) 10% wp อัตรา 25 กรัม -อีโทเฟนพรอกซ์ (Etofenprox) 10% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร -บูโพรเฟซิน/ไอโซโพรคาร์บ (Brprofezin/Isoprocorb) 5%/20% WP อัตรา 50 กรัม ข้าวระยะแตกกอเต็มที่ -อีโทเฟนพรอกซ์ (Etofenprox) 10% EC อัตรา 20

เตือนการระบาด…เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

เตือนการระบาด…เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงปากดูด มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาวและชนิดปีกสั้น ตัวเต็มวัยมีขนาดยางประมาณ 3 มิลลิเมตร กว้าง 1 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลปนดำ ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ลักษณะการทำลาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำท่ออาหาร บริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีออาการใบเหลืองแห้ง ลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียก “อาการไหม้” (hopperburn) โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง โดยสามารถทำลายข้างได้ทุกระยะ พัฒนาและปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและอาหารได้ดี นอกจากนี้ยังเป็นพาหนะนำเชื้อไวรัส โรคใบหงิก (rice raqqed stunt) มาสู่ต้นข้าวทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็น ต้นเตี้ยใบสีเขียวแคบและสั้น ใบแก่ช้ากว่าปกติ ปลายใบบิดเป็นเกลียว และขอบใบแหว่งวิ่น

สร้างการรับรู้เฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลัง

สร้างการรับรู้เฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลัง

เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเลาขวัญ ดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลังขอความร่วมมือเกษตรกรทุกท่านที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี ช่วยรายงานข้อมูลพื้นที่พบการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง ผ่านระบบ Google Form หมายเหตุ โดยการสำรวจข้อมูลครั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นที่การระบาดที่เป็นจริง และใกล้เคียงกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด นำไปสู่การวางแผนการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังระดับประเทศ

เกษตรเลาขวัญ..ลงพื้นที่รับขึ้นทะเบียนเกษตรกร

เกษตรเลาขวัญ..ลงพื้นที่รับขึ้นทะเบียนเกษตรกร

เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเลาขวัญ รับขึ้นและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ ประจำปี 2566/67 ตามแผนประชาสัมพันธ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรไม่ต้องเดินทางมาที่สำนักงานเกษตรอำเภอ โดยการขึ้นและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบันเพื่อเป็นการยืนยันตัวตน และเป็นข้อมูลการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร รวมถึงเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช และสนับสนุนโครงการมาตรการภาครัฐต่างๆ โดยเมื่อเกษตรกรทำการเพาะปลูกแล้ว 15 วัน ให้เร่งมาแจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรหากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้นให้แจ้งปรับปรุงข้อมูลทุกปี ให้เป็นปัจจุบัน และประชาสัมพันธ์การสำรวจโรคใบด่างมันสำปะหลังผ่าน google form ตามแผนการขึ้นทะเบียนเกษตรกรในพื้นที่

ให้คำแนะนำการขอจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

ให้คำแนะนำการขอจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

วันที่ 20 กันยายน 2566 เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเลาขวัญ ให้คำแนะนำกับตัวแทนกลุ่มเกษตรกรที่มีความประสงค์จะขอดำเนินการจัดตั้งกลุ่มวิสหากิจชุมชน โดยได้แนะนำให้ทราบถึงข้อกำหนด ระเบียบ และขั้นตอนในการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้ทราบในเบื้องต้น ณ สำนักงานเกษตรอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

เตือนการระบาด…โรคดอกเน่าในดาวเรือง

เตือนการระบาด…โรคดอกเน่าในดาวเรือง

สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่  เตือนผู้ปลูกดาวเรือง  ในระยะออกดอก รับมือโรคดอกเน่า (เชื้อรา Colletotrichum sp.) อาการเริ่มแรกกลีบดอกมีลักษณะฉ่ำน้ำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจากปลายกลีบดอกไปหาโคนดอก แล้วเน่าลุกลามเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทั้งดอก ดอกเสียคุณภาพ ถ้าเชื้อเข้าทำลายในระยะดอกตูม จะทำให้ดอกไม่บาน หากโรครุนแรงจะลุกลามสู่ต้นทำให้ต้นเน่าและยืนต้นตาย แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่มีฝนตกชุก อากาศมีความชื้นสูง เมื่อพบดอกเริ่มแสดงอาการของโรค ตัดดอกที่เป็นโรคออก นำไปทำลาย หรือฝังดินนอกแปลงปลูก ไม่ทิ้งไว้ในบริเวณ หรือข้างแปลง เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค หากโรคยังคงระบาดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไดฟีโนโคนาโซล 25% EC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 50

เตือนการระบาด…โรคใบหงิกเหลืองในพริก

เตือนการระบาด…โรคใบหงิกเหลืองในพริก

สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่  เตือนผู้ปลูกพริก  ในทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคใบหงิกเหลืองพริก (เชื้อไวรัส Pepper yellow leaf curl virus: PeYLCV) พบอาการใบหงิกเหลืองหรือขาวซีด ใบโค้งงอ หงิกย่น บิดเบี้ยว ยอดเป็นกระจุก อาจพบอาการเส้นใบย่อยมีสีเหลืองและสานเป็นร่างแหบริเวณเนื้อใบร่วมด้วย ต้นแคระแกร็น ผลพริกด่าง บิดเบี้ยว และมีขนาดเล็กผิดปกติ แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค 2. ไม่นำเมล็ดพริกจากต้นที่เป็นโรค มาเพาะ 3. ควรเพาะกล้าพริกในมุ้งกันแมลง และคัดเลือกกล้าพริกที่แข็งแรงและไม่เป็นโรคมาปลูก 4. หมั่นตรวจแปลงปลูก หากพบพริกที่แสดงอาการของโรคให้ถอนและนำไปทำลาย หรือฝังดินนอกแปลงทันที 5. หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูก เพื่อลดแหล่งสะสมของเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ เช่น สาบแร้งสาบกา กะเม็ง หญ้ายาง