แมลงวันผลไม้ฝรั่ง

แมลงวันผลไม้ฝรั่ง

สภาพอากาศในช่วงนี้มีหมอกตอนเช้า กลางวันร้อน เตือนผู้ปลูกฝรั่ง ในระยะ ระยะติดผล รับมือแมลงวันผลไม้ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 ฟอง ในผลฝรั่ง ลึกจากผิวประมาณ 2-5 มิลลิลิตร หลังจากฝรั่งติดผล แล้ว 9 สัปดาห์ ระยะหนอนทำลายพืชโดยการชอนไชกินเนื้ออยู่ภายในผล ทำให้ผลเน่าและร่วง แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1. ต้องรักษาความสะอาดในแปลงปลูก โดยเก็บผลที่ถูกแมลงวันผลไม้เข้าทำลาย หรือผลที่เน่าออกจากแปลงปลูก นำไปฝังกลบให้มีระดับหน้าดินหนา 15 เซนติเมตร เพื่อลดการสะสมและขยายพันธุ์ของแมลงวันผลไม้ในแปลงปลูก 2. ควรทำการตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อลดการเกิดร่มเงาในทรงพุ่ม ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการแพร่ ระบาดของแมลงวันผลไม้ และให้ศัตรูธรรมชาติมีบทบาทในการทำลายแมลงวันผลไม้ได้มากขึ้น 3. ควรห่อผลด้วยถุงพลาสติกหูหิ้วสีขาว ขนาด 6×14 นิ้ว

เพลี้ยแป้งฝรั่ง

เพลี้ยแป้งฝรั่ง

สภาพแวดล้อม / สภาพอากาศที่เกิดในช่วงนี้  :  อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมี ฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มี ฝนตกและลมแรงในบาง พื้นที่  ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ  :  ฝรั่งระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้  :  พัฒนาผล-เก็บเกี่ยว ผลผลิต ปัญหาที่ควรระวัง  : เพลี้ยแป้ง ข้อสังเกตลักษณะ / อาการที่พบ  : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยง จากกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ โดยมี มดเป็นตัวช่วยพาไปไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของพืช ทำให้พืชแคระแกร็นชะงักการ เจริญเติบโต แนวทางป้องกัน / แก้ไข  :        1. หมั่นสำรวจแปลงทุกสัปดาห์ หากพบไม่มากให้ตัด ส่วนของพืชที่พบเพลี้ยแป้งไปทำลาย 2. พ่นสารอิมิดาโคลพริด 70% WG

เพลี้ยแป้ง (มะม่วงหิมพานต์)

เพลี้ยแป้ง (มะม่วงหิมพานต์)

ช่วงระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้ : พัฒนาผล ลักษณะอาการที่พบ : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงผลอ่อนทำให้เมล็ดและผลปลอมไม่เจริญ แคระแกร็นเมล็ดลีบหรืออาจทำให้ผลอ่อนร่วงหล่นได้ ถ้ามีปริมาณมาก มักพบเพลี้ยแป้งเกาะที่ลำต้นเป็นกระจุก และมักพบร่วมอยู่กับมด โดยมีมดเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งให้เคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่าง ๆ ของมะม่วงหิมพานต์ โดยมดอาศัยน้ำหวานจากเพลี้ยแป้งที่ถ่ายออกมา แนวทางป้องกัน/แก้ไขส้ารวจผลมะม่วงหิมพานต์ หากพบการระบาดพ่นสารฆ่าแมลงพิริมิฟอส–เมทิล 50% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือมาลาไทออน 83% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นสาร 2 – 3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน

แแมลงวันผลไม้ (มะม่วง)

แแมลงวันผลไม้ (มะม่วง)

ลักษณะอาการที่พบ : เพศเมีย ใช้อวัยวะวางไข่ แทงเข้าไปในผลตัวหนอนที่ฟักจากไข่อาศัยและชอนไชอยู่ภายในทำให้ผลเน่าเสีย และร่วงหล่นลงพื้น ตัวหนอนที่โตเต็มที่เจาะออกจากผลเพื่อเข้าดักแด้ในดินแล้วจึงออกเป็นตัวเต็มวัย แมลงวันผลไม้วางไข่ ในผลไม้สุก และมีเปลือกบาง ในระยะเริ่มแรกสังเกตได้ยากอาจพบอาการช้ำบริเวณใต้ผิวเปลือกเมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อย ๆ ท้าให้ผลเน่า ผลที่ถูกท้าลายนี้มักมีโรคและแมลงชนิดอื่น ๆ เข้าทำลายซ้ำ แนวทางป้องกัน/แก้ไข1. ทำความสะอาดแปลงปลูก โดยเก็บผลไม้ที่เน่าเสียจากการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ฝังกลบให้หน้าดินหนาอย่างน้อย 15 เซนติเมตร 2. ห่อผลด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาล หรือถุงกระดาษที่ภายในเคลือบด้วยกระดาษคาร์บอน โดยเริ่มห่อเมื่อมะม่วงติดผลได้อายุประมาณ 60 วัน 3. การใช้กับดักสารล่อเมทธิล ยูจินอล เพื่อเป็นตัวชี้วัดปริมาณแมลงวันผลไม้ในแปลงปลูกโดยใช้กับดักที่ภายในแขวนก้อนสำลีชุบสารเมทธิล ยูจินอล ผสมสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% EC ในอัตรา 4:1 แขวนในทรงพุ่มที่ระดับความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร

เพลี้ยไฟพริก (ในมะม่วง)

เพลี้ยไฟพริก (ในมะม่วง)

ช่วงระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้ : พัฒนาผล ลักษณะอาการที่พบ : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ใช้ปากเขี่ยเนื้อเยื่อ และดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชบริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอกมะม่วง โดยเฉพาะฐานรองดอก และขั้วผลอ่อน ทำให้เซลล์บริเวณนั้นถูกทำลาย กรณีที่ระบาดไม่รุนแรงจะปรากฏแผลชัดเจนเป็นวงใกล้ขั้วผลมีสีเทาเงินเกือบดำ หรือผลบิดเบี้ยว ถ้าทำลายรุนแรงผิวของผลมะม่วงจะเป็นสีดำเกือบทั้งหมดทำให้ผลผลิตมีราคาต่ำลง การทำลายในระยะติดดอกจะทำให้ช่อดอกหงิกงอ ดอกร่วงไม่ติดผลหรือทำให้ติดผลน้อย ส่วนอาการที่ปรากฏบนยอดอ่อนจะทำให้ใบที่แตกใหม่ แคระแกร็น ขอบใบและปลายใบไหม้ ใบอาจร่วงตั้งแต่ยังเล็ก ๆ สำหรับใบที่ขนาดโตแล้ว เพลี้ยไฟพริกมักลงทำลายตามขอบใบทำให้ใบม้วนงอ และปลายใบไหม้ ถ้าเป็นการทำลายที่ยอดจะรุนแรง ทำให้ยอดแห้งไม่แทงช่อใบ หรือช่อดอก การทำลายที่ตา ช่อดอกบิดเบี้ยว หงิกงอ หรือติดผลน้อย ผลเล็ก ๆ ที่ถูกเพลี้ยไฟพริกทำลายอาจร่วงหล่นได้ แนวทางป้องกัน/แก้ไข1. ถ้าพบไม่มากให้ตัดส่วนที่แมลงระบาดนำไปทำลายนอกแปลงปลูก

เพลี้ยไฟพริก (ในพืชตระกูลส้ม)

เพลี้ยไฟพริก (ในพืชตระกูลส้ม)

สภาพแวดล้อม : อากาศร้อนในตอนกลางวันและมีฝนตกบางพื้นที่ ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ : พืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และ ส้มเขียวหวาน) ช่วงระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้ : ออกดอก – ติดผลอ่อน ลักษณะอาการที่พบ : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยใช้ปากเขี่ยและดูดกินน้ำเลี้ยงส่วนอ่อนต่างๆ ของส้มโอ การทำลายบนยอดหรือใบอ่อน จะทำให้ใบแคบเล็กกร้าน และบิดงอ การทำลายบนผลจะเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ติดผล ภายหลังกลีบดอกร่วงหมด เกิดเป็นรอยแผลบนผิวของส้มโอเป็นทางสีเทาเงิน ผลแคระแกร็น บิดเบี้ยว แนวทางป้องกัน/แก้ไข1. ควบคุมการแตกยอดออกดอก ติดผล ให้อยู่ในระยะเดียวกันในแต่ละรุ่น เพื่อความสะดวกในการป้องกันกำจัด และช่วยลดจำนวนครั้งของการพ่นสารเคมี 2. ผลอ่อนที่ถูกเพลี้ยไฟพริกทำลายรุนแรง ควรเก็บทิ้งทำลาย และการเด็ดผลทิ้งจะช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว 3.

โรคจุดดำในมะม่วง

โรคจุดดำในมะม่วง

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนตกบางพื้นที่  เตือนผู้ปลูกมะม่วง ในระยะ  แทงช่อดอก – พัฒนาผล รับมือโรคจุดดำ หรือโรคแอนแทรคโนส (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides) เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต โดยมีลักษณะอาการ ดังนี้ อาการที่ใบ ใบอ่อนพบจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นแผลสีน้ำตาลดำ หากอาการรุนแรงแผลจะขยายตัวอย่างรวดเร็วติดต่อกันทั้งผืนใบ ทำให้ใบบิดเบี้ยว เสียรูปทรง ยอดอ่อนเหี่ยวและดำ ส่วนใบแก่พบแผลรูปร่างค่อนข้างเหลี่ยม หากอาการรุนแรงแผลจะทะลุเป็นรู อาการที่ช่อดอก พบจุดหรือขีดสีน้ำตาลแดงเล็ก ๆ บนก้านช่อดอก ต่อมาแผลขยายใหญ่ หากมีความชื้นสูงจะพบเมือกสีส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรคอยู่ที่บริเวณแผล ทำให้ช่อดอกเหี่ยวแห้ง ดอกหลุดร่วงก่อนติดผล อาการที่ผลอ่อน พบจุดแผลสีน้ำตาลดำ ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมผลที่ถูกทำลายจะเป็นสีดำและหลุดร่วงก่อนกำหนด ในบางครั้งเชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายแบบแฝงในผลอ่อน โดยไม่แสดงอาการของโรค แต่จะแสดงอาการของโรคเมื่อผลสุก และอาการรุนแรงมากขึ้นตามความสุกของผล

โรคใบขาวอ้อย

โรคใบขาวอ้อย

เชื้อสาเหตุของโรคใบขาวโรคใบขาวของอ้อยเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา ซึ่งเป็นเชื้อที่ต้องเจริญเติบโตอยู่ในต้นอ้อยหรือในแมลงพาหะเท่านั้น โดยเชื้อจะอยู่ภายในท่ออาหารของอ้อย ซึ่งอ้อยเจริญเติบโตไปได้เพียงใด เชื้อสาเหตุของโรคสามารถเพิ่มปริมาณไปได้ไกลเท่ากันแมลงพาหะถ่ายทอดเชื้อแมลงพาหะที่สามารถถ่ายทอดเชื้อไฟโตพลาสมา สาเหตุโรคใบขาวมี 2 ชนิด ประกอบด้วย เพลี้ยจักจั่นลายจุดสีน้ำตาล และ เพลี้ยจักจั่นหลังขาว โดยเพลี้ยทั้งสองชนิดนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงอ้อยเป็นหลัก เพื่อการเจริญเติบโตและวางไข่ในดิน โดยชอบวางไข่ในดินทรายหรือดินร่วนทรายมากกว่าดินชนิดอื่น เมื่อแมลงพาหะไปดูดกินน้ำเลี้ยงจากอ้อยที่มีเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคใบขาวแล้ว เชื้อไฟโตพลาสมาสามารถเข้าไปเพิ่มปริมาณในตัวของแมลงพาหะ (ใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์) แล้วเข้ามาอยู่ในต่อมน้ำลายของแมลง ซึ่งทุกครั้งหลังจากนี้ถ้าหากแมลงดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นอ้อยปกติ ก็สามารถถ่ายทอดเชื้อไฟโตพลาสมาไปยังต้นอ้อยได้ ทั้งนี้พบว่า เพลี้ยจักจั่นลายจุดสีน้ำตาลเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณได้มาก ช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน ในขณะที่เพลี้ยจักจั่นหลังขาว สามารถเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณได้มาก ระหว่างเดือน กันยายน – พฤศจิกายน โดยช่วงเวลาดังกล่าวจึงต้องเฝ้าระวังการระบาดการเพิ่มขึ้นของแมลงทั้งสองชนิด ไม่ควรปลูกอ้อยใหม่ในช่วงนี้ อาจใช้กับดักแสงไฟ หรือแถบกาว  สีต่างๆช่วยดักจับแมลง เพื่อลดช่องทางการระบาดของโรคใบขาวอ้อยได้การป้องกันกำจัด1. 

หนอนกออ้อย

หนอนกออ้อย

ในฤดูร้อน อุณหภูมิสูง อากาศแห้งแล้ง ความชื้นต่ำ ระวัง “หนอนกออ้อย” ระบาด สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ทั้งอ้อยตอหรืออ้อยปลูก โดยเฉพาะอ้อยที่อยู่ในระยะแตกกอจะพบการระบาดและสร้างความเสียหายได้มากที่สุด กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้ 1. ปลูกอ้อยพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อหนอนกอ เช่น เอฟ156, อู่ทอง1 และ เค84 – 2002 2. ถ้าต้องไถตออ้อยทิ้งให้ทำลายตออ้อยให้หมด เพื่อกำจัดหนอนหรือดักแด้ที่อยู่ในตออ้อย3. ลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในระยะเริ่มปลูก เพราะหนอนจะชอบหน่ออ้อยที่มีความอวบอ้วน4. การใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น    – ปล่อยแตนเบียนหนอนโคทีเซีย อัตรา 100 – 500 ตัวต่อไร่ เมื่อพบหนอน ปล่อยทุก 7 วัน 4 ครั้ง    –

ไรแดงมันสำปะหลัง

ไรแดงมันสำปะหลัง

ภาวะที่อากาศร้อน แห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง เป็นสภาพที่เหมาะต่อการระบาดของไรแดงมันสำปะหลัง  พื้นที่ใดประสบกับภาวะดังกล่าว เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก เมื่อเริ่มพบการระบาด จะได้ป้องกันกำจัดทันก่อนที่มันสำปะหลังแสดงอาการรุนแรงซึ่งกระทบต่อการให้ผลผลิต ไรแดงหม่อน หรือไรแดงมันสำปะหลัง (Mulberry red mite : Tetranychus truncatus Ehara) : เป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณใต้ใบและสร้างเส้นใยอยู่เหนือผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายอยู่ ผลของการดูดกินน้ำเลี้ยงของไรตรงบริเวณใต้ใบ มีผลทำให้หน้าใบเกิดจุดประด่างขาว โดยเฉพาะตามแนวเส้นใบ ต่อมาขยายแผ่กว้างขึ้น ทำให้หน้าใบทั้งหมดมีสีขาวซีด ใบกระด้าง กรอบ หากระบาดรุนแรง ใบร่วงหลุดจากต้น หากการระบาดไม่รุนแรง เก็บใบมันสำปะหลังที่พบไร ไปเผาทำลาย กรณีที่มีการระบาดรุนแรง กลุ่มกีฏวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำชนิดและอัตราของสารฆ่าไรที่มีประสิทธิภาพในการกำจัด ดังนี้ – ไพริดาเบน (pyridaben) 20%