สำนักงานเกษตรอำเภอท่าม่วง โดยนางประภาพรรณ สุนทรวิภาต เกษตรอำเภอท่าม่วง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอท่าม่วง และเจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี ลงพื้นที่สำรวจและติดตามสถานการณ์การระบาดของเพลี้ยกระโดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว ในพื้นที่ หมู่ 5, 6 ตำบลท่าล้อ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ระยะข้าวแตกกอ พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากการสำรวจพบอาการการทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยกระโดดหลังข้าว พบการระบาดอย่างรุนแรง โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลือง เหี่ยวแล้วแห้งเป็นสีน้ำตาลแก่คล้ายน้ำร้อนลวกที่เรียกว่า hopper burn ต้นกล้าและต้นข้าวที่กำลังแตกกอที่ถูกทำลายจะแห้งตาย โดยเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำ ดังนี้ 1. ใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เนื่องจากข้าวมีการเจริญงอกงามและเขียวจัดเหมาะสมต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงศัตรูชนิดอื่น 2. ไม่ขังน้ำในนาตลอดเวลา ควรปล่อยให้ระดับน้ำมีพอดินเปียก เพื่อให้สภาพนิเวศในนาข้าวไม่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 3. สำรวจแมลงอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรปล่อยให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดสูง 4. เมื่อพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลถึงระดับ 10 ตัว/กอ(1 ตัว/ต้น) ควรฉีดสารเคมี บูโพรเฟซิน 25 % WP 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้สารอีโทเฟนพรอกซ์(ทรีบอน 10% อีซี) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไพมีโทซีน 50 % WG 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น