ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของเกษตรกรกลุ่มผลิตพืชอินทรีย์

ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของเกษตรกรกลุ่มผลิตพืชอินทรีย์

วันที่ 27 ตุลาคม 2566 สำนักงานเกษตรอำเภอเลาขวัญ โดยนายพิพัฒน์ คลาดโรค นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร พร้อมเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของเกษตรกรกลุ่มผลิตพืชอินทรีย์ตามข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในการตรวจแปลง เพื่อออกใบรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ ณ หมู่ที่ 8 ตำบลหนองประดู่ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

ติดตามการดำเนินงานแปลงเรียนรู้ การผลิตมันสำปะหลัง

ติดตามการดำเนินงานแปลงเรียนรู้ การผลิตมันสำปะหลัง

วันที่ 27 ตุลาคม 2566 สำนักงานเกษตรอำเภอเลาขวัญ นำโดยนางสาวระวิวรรณ เอี่ยมทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ติดตามแปลงเรียนรู้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ในพื้นที่จำนวน 5 ไร่ ของกำนันศักดิ์ชาย ปุยสมุทร หมู่ที่ 8 ตำบลหนองประดู่ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี โดยปัจจุบันมีอายุมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 6 เดือน โครงการจัดทำแปลงเรียนรู้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ชนิดสินค้ามันสำปะหลัง) จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้มีความสามารถในการผลิตมันสำปะหลัง ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่งผลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในอาชีพของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังต่อไป

สัมมนาพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่งานภัยพิบัติธรรมชาติ

สัมมนาพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่งานภัยพิบัติธรรมชาติ

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 นายวีรธรรม ชูใจ เกษตรอำเภอเลาขวัญ พร้อมด้วยนางสาวระวิวรรณ เอี่ยมทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ผู้รับผิดชออบงานภัยพิบัติธรรมชาติระดับอำเภอ เข้าร่วมสัมมนาพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานภัยธรรมชาติ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ณ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา โดยฟังบรรยาย ตอบข้อซักถาม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการปฏิบัติงาน1. “เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบติ กรณีฉุกเฉิน” โดยนายจรัญ ย่องนุ่น หัวหน้าฝ่ายสงเคราะห์ ช่วยเหลือ และฟื้นฟูสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา2. “เรื่องแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร” โดย กลุ่มช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช กองแผนงาน กรมส่งเสริมการเกษตร 3. “เรื่องการใช้งานระบบข้อมูลเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช

ประชุมหารือผลวิเคราะห์ข้อมูลฯ สินค้าเกษตรด้านพืช

ประชุมหารือผลวิเคราะห์ข้อมูลฯ สินค้าเกษตรด้านพืช

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 เกษตรอำเภอเลาขวัญ มอบหมายให้นางสาวพณิชญา แจ๊ดนาลาว นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เข้าร่วมประชุมหารือผลวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการผลิตพืชจังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ 2/2566 ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meeting เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลข้าวนาปรัง ปีเพาะปลูก 2566 มันสำปะหลัง ปปี 2566 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 1 ปีเพาะปลูก 2565/66 ถั่วเหลืงรุ่น 2 ปีเพาะปลูก 2565/66 และไม้ผล (ลำไย ทุเรียน เงาะ ลิ้นจี่ ลองกอง) เพื่อนำผลการวิเคราะห์ที่ได้เสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรด้านพืชต่อไป

จัดการผลผลิตที่เหลือทิ้ง หน่อไม้ฝรั่ง

จัดการผลผลิตที่เหลือทิ้ง หน่อไม้ฝรั่ง

วันที่ 25 ตุลาคม 2566 สำนักงานเกษตรอำเภอเลาขวัญ โดยนายวีรธรรม ชูใจ เกษตรอำเภอเลาขวัญ และเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยนางสาวรพีพร สุทาธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและกลยุทธ์ สถาบันอาหารภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สังกัดกระทรวงอุสาหกรรม (Nfi) ลงพื้นที่พูดคุยรายละเอียดเกี่ยวกับการปลูก การดูแล และการจัดการผลผลิตที่เหลือทิ้งเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่งลดการสูญเสียผลผลิตให้น้อยที่สุดในรอบฤดูการผลิตกับนายภุชงค์ เรืองเชื้อเหมือน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหน่อไม้ฝรั่งบ้านกรับใหญ่ ณ หมู่ 5 ตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

โครงการขุดแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน

สำนักงานพัฒนาที่ดินจังกาญจนบุรี (พด.) ฝากประชาสัมพันธ์..โครงการขุด แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน โดยเป็น (บ่อจิ๋ว) ขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกษตรกรจ่ายสมทบ 2,500 บาท ก่อสร้างปีงบประมาณ 2567 ท่านใดมีความสนใจให้เตรียมส่งเอกสาร ดังนี้1.สำเนาบัตรประชาชน2.สำเนาทะเบียนบ้าน3.สำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน4.พิกัดที่ตั้งแปลง5. เบอร์โทรศัพท์แบบฟอร์มคำขอ สามารถขอรับได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอเลาขวัญ พร้อมกับฝากส่งเอกสารไว้ได้เลยค่ะ ภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2566

สำรวจสถานการณ์พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ

สำรวจสถานการณ์พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ

วันที่ 19 ตุลาคม 2566 นายวีรธรรม ชูใจ เกษตรอำเภอเลาขวัญ พร้อมเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจของอำเภอเลาขวัญที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากสภาวะฝนทิ้งช่วงในปีนี้ โดยอำเภอเลาขวัญมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดประมาณ 181,500 ไร่ จากการสำรวจคาดว่าพื้นที่เสียง/เฝ้าระวังที่จะได้รับผลกระทบจากสภาวะฝนทิ้งช่วง ดังนี้ -ข้าวอายุไม่เกิน 70 วัน คิดเป็นร้อยละ 30 หรือประมาณ 14,500 ไร่ (พื้นที่ดอน) -อ้อยโรงงาน คิดเป็นร้อยละ 30 หรือประมาณ 7,600 ไร่ -มันสำปะหลังอายุ 1-3 เดือน คิดเป็นร้อยละ 5 ของพื้นที่ปลูก หรือประมาณ 2,300 ไร่ -และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คิดเป็นร้อยละ

รับชมถ่ายทอดสดพิธีเปิดศูนย์การเกษตรพิรุณราช ผ่าน Facebook page

รับชมถ่ายทอดสดพิธีเปิดศูนย์การเกษตรพิรุณราช ผ่าน Facebook page

วันที่ 18 ตุลาคม 2566 นายวีรธรรม ชูใจ เกษตรอำเภอเลาขวัญ พร้อมเจ้าหน้าที่ ร่วมรับชุมพิธีเปิดศูนย์การเกษตรพิรุณราช ณ สำนักงานเกษตรอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่าน facebook page กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับแนวทางการดำเนินงานศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้การขับเคลื่อนงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม สามารถแปลงนโยบาย สร้างวิธีทำงานสู่การปฏิบัติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มีนโยบายการจัดตั้งศูนย์บริการประชาชนภาคการเกษตรขึ้น เพื่อขับเคลื่อนงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์บริการประชาชนภาคการเกษตรขึ้น โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ชื่อศูนย์ : ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2. ที่ตั้งศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช

ขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านพืช

ขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านพืช

วันที่ 18 ตุลาคม 2566 นายวีรธรรม ชูใจ เกษตรอำเภอเลาขวัญ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ร่วมรับฟังการประชุมขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านพืช ระดับภูมิภาค ครั้งที่ 1/2566 ผ่านระบบออนไลน์ Appliccation Zoom Meeting โดยนายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ที่ 2 จังหวัดราชบุรี เป็นประธาน ณ ห้องประชุมสำนักงสานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ที่ 2 จังหวัดราชบุรี โดยการประชุมครั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนและเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการภัยพิบัติด้านพืชของกรมส่งเสริมในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ที่ 2 จังหวัดราชบุรี ทั้งในด้านมิติการป้องกันและลดผลกระทบการเตรียมความพร้อมการจัดการในสภาวะฉุกเฉินละการฟื้นฟูหลังเกิดภัยตลอดจนการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในทิศทางเดียวกัน

รับสมัครคัดเลือกเยาวชนเกษตรไปญี่ปุ่น

ข่าวดี สำหรับเยาชนเกษตร‼️ ประชาสัมพันธ์ รับสมัครเยาวชนเกษตรเพื่อเข้าร่วม✨ โครงการฝึกงานผู้นำเยาวชนเกษตรไทยในประเทศญี่ปุ่น ประจำปี 2567✨ ด้วยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้กำหนดรับสมัครเยาวชนเกษตรเพื่อคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรมพื้นฐานการเกษตรและภาษาญี่ปุ่น โครงการฝึกงานผู้นำเยาวชนเกษตรไทยในประเทศญี่ปุ่น ประจำปี 2567 📍สมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอและสำนักงานเกษตรจังหวัดทั่วประเทศ 💢ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2566